Physiognomy
Physiognomy
ฟิสิโอโนมีนั้นเป็นการเสนอว่าลักษณะหรือบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลนั้นสามารถอ่านได้จากภาพลักษณ์ภายนอกของบุคคลนั้นๆ โดยเฉพาะใบหน้า คำๆ นี้เป็นการผสมคำจากภาษากรีกโบราณสองคำคือ physis ที่หมายความว่าธรรมชาติ กับ gnomon ที่หมายถึงการตีความหรือการตัดสิน นอกจากนั้นแล้ว คำว่า Physiognomy นั้นยังสามารถใช้ในความหมายถึงลักษณะภายนอกโดยรวมทั้งหมดของบุคคล ของวัตถุ ของอาณาเขต โดยที่ไม่ต้องมีนัยความหมายถึงเรื่องลักบุคลิกภาพหรือลักษณะของสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่อย่างด อย่างเช่นการกล่าวถึงฟิสิโอโนมีของกลุ่มพืชพันธุ์
ประวัติความเป็นมา
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษาฟิสิโอโนมีนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย ในยุคกรีกโบราณนั้น ฟิสิโอโนมีได้รับการยอมรับและได้รับการนำไปประยุกต์ใช้โดยพวกนักปรัชญากรีกโบราณทั้งหลาย แต่ฟิสิโอโนมีนั้นกลับไม่ได้รีบความเชื่อถืออย่างสิ้นเชิงในยุคกลางเนื่องจากผู้ทีใช้องค์ความรู้นี้นั้นเป็นพวกคนพเนจรและพวกนักต้มตุ๋น ต่อมา Physiognomy ก็ถูกฟื้นฟูกลับมาใช้โดกวีชาวสวิสที่ชื่อโยฮันน์ กัสปาร์ ลาวาเตร์ในศตวรรษที่สิบแปดจนได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปก่อนที่จะเสื่อมความน่าเชื่อถือไปอีกครั้งตอนปลายศตวรรษที่สิบเก้า ฟิสิโอโนมีในความหมายที่เข้าใจกันในอดีตนั้นมีคุณสมบัติต้องตรงกันกับนิยามของศาสตร์ปลอมหรือ pseudoscience นั่นเอง
ไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าฟิสิโอโนมีนั้นทำงานอย่างไร แม้ว่าจะมีการศึกษาในยุคปัจจุบันไม่นานมานี้ได้สร้างข้อเสนอว่าในการแสดงออกทางสีหน้านั้นมีบางแง่มุมของความจริงเกี่ยวกับบุคลิกภาพทั้งหมดของบุคคลอยู่ นอกจากนี้ ฟิสิโอโนมียังสามารถถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าแอนโทรสโคปีในบางครั้ง แม้ว่าคำหลังนั้นจะใช้กันมากกว่าในศตวรรษที่สิบเก้าซึ่งเป็นยุคสมัยที่คำๆ นี้กำเนิดขึ้นก็ตาม
ข้อวิจารณ์และกระแสตอบรับ
แม้ลาวาเตร์จะเป็นผู้ที่นำ Physiognomy กลับมาสู่การรับรู้ของสาธารณะในศตวรรษที่สิบแปดอีกครั้ง แต่เขาก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยไปกว่ากันจากบรรดานักวิทยาศาสตร์, นักเขียนและผู้ทำงานทางด้านความคิดทั้งหลายในยุคนั้น ผู้ที่ออกมาวิจารณ์ลาวาเตร์และฟิสิโอโนมีอย่างรุนแรงคนหนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่ชื่อ เกออร์ก คริสตอฟ ลิกห์เตนเบิร์ก ที่ได้กล่าวไว้ว่าหากเทียบเคียงกันแล้ว พาโธโนมี (pathognomy) หรือการค้นพบบุคลิกลักษะผ่านทางการสังเกตพฤติกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่าฟิสิโอโนมีและยังให้ผลที่จับต้องได้มากกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ในศตวรรษที่สิบเก้าเอง ฟิสิโอโนมีก็ยังคงถูกนำกลับมาใช้ในทางวรรณคดีงานเขียนผ่านการสร้างหรือบรรยายตัวละคร โดยพวกนักเขียนนวนิยายในยุคนั้นต่างก็เน้นเรื่องความสมจริงด้วยการบรรยายทุกสิ่งที่มีบทบาทในเรื่องราวอย่างละเอียดยิบย่อย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งของฟิสิโอโนมี
นักเขียนอย่างโฮโนเร บัลซัค, ชาร์ลส ดิกเก้นส์, โธมัส ฮาร์ดี และชาร์ลอต บรองเต นั้นต่างบรรยายลักษณะทางกายภาพของตัวละครเพื่อสื่อถึงบุคลิกลักษณะและความนึกคิดจิตใจของตัวละครเหล่านั้น โดยเฉพาะในผลงานอย่าง ภาพวาดของดอเรียน เกรย์ ที่เขียนโดยออสการ์ ไวลด์ นั้นก็มีนัยอ้างอิงถึงแนวคิดแบบฟิสิโอโนมี ในฝั่งอเมริกาเองนั้นก็มีคนอย่าง เอ็ดการ์ อลัน โพ ที่มีแนวคิดแบบฟิสิโอโนมีปรากฏออกมาในงานเขียน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังคงเป็นที่น่ากังขาว่าการกล่าวว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ในงานพวกนี้นั้นเป็น Physiognomy ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือเป็นเพียงองค์ประกอบที่ใส่เข้าไปในนั้นเพื่อช่วยในการสื่อความกับผู้อ่านมากกว่าจะแสดงถึงความเชื่อส่วนตัวของผู้เขียนหรือไม่
ในวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนั้นแม้จะมีการกล่าวถึงการกลับมาของฟิสิโอโนมีแต่ก็ไม่ได้มีข้อสรุปอะไรที่แน่นอนชัดเจน นั่นคือยังอยู่ในขั้นตอนการค้นคว้าต่อไป