Landscape Ecology: นิเวศวิทยาภูมิทัศน์

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Landscape Ecology: นิเวศวิทยาภูมิทัศน์
นิเวศวิทยาภูมิทัศน์เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางนิเวศวิทยาในสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ ศาสตร์สาขานี้ศึกษาตั้งแต่ภูมิทัศน์ในขนาดหลากหลาย รวมทั้งรูปแบบการพัฒนาในด้านพื้นที่ ไปจนถึงการศึกษาในระดับการจัดการองค์กรของทั้งการวิจัยและนโยบาย
ด้วยความที่เป็นการศึกษาที่มีความเป็นสาขาวิชาซึ่งจัดอยู่ใน systems science นิเวศวิทยาภูมิทัศน์นั้นได้ผนวกรวมเอาทั้งแนวทางการศึกษาเชิงชีวะกายภาพและเชิงวิเคราะห์เข้ากับแนวทางการมองแบบมนุษย์นิยมและองค์รวมที่ข้ามไปยังพื้นที่ของทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ ภูมิทัศน์นั้นเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในทางภูมิศาสตร์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลกหรือระบบนิเวศที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในหลากรูปแบบ โดยต่างมีทั้งอาณาเขตที่คงความเป็นธรรมชาติและระบบน้ำไว้เช่นป่า, ทุ่งหญ้า และทะเลสาบไปจนถึงสภาพแวดล้อมที่มีมนุษย์อยู่อาศัยอย่างพื้นที่ทางการเกษตรหรือเมือง ลักษณะสำคัญของนิเวศวิทยาภูมิทัศน์คือเป็นการศึกษาที่เน้นไปยังความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผน, กระบวนการ, และขนาดหรืออัตราส่วน รวมไปถึงการเน้นไปยังประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง การเน้นประเด็นเหล่านี้ทำให้การผนวกรวมชีวะกายภาพกับเศรษฐศาสตร์สังคมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ประเด็นวิจัยสำคัญในนิเวศภูมิทัศน์นั้นได้แก่การเคลื่อนในทางนิเวศวิทยาในลวดลายทางภูมิทัศน์, การใช้แผ่นดินและความเปลี่ยนแปลงในการถมของแผ่นดิน, การวัดอัตราส่วน, การวิเคราะห์แบบแผนทางภูมิทัศน์ด้วยกระบวนการทางนิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ภูมิทัศน์และการรักษาให้ยั่งยืน
ความเป็นมา
ในภาษาเยอรมัน Landschaftsökologie ที่หมายถึงนิเวศวิทยาภูมิทัศน์นั้นถูกเสนอไว้โดยคาร์ล ทรอลล์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมนีในปี 1939 ทรอลล์นั้นยังเป็นผู้ที่ได้ริเริ่มและพัฒนามโนทัศน์และเทอมคำเรียกต่างๆ ในนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ไว้ในผลงานชิ้นแรกๆ ของเขาที่มีการนำการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศมาประยุกต์เข้ากับการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและการขยายพันธุ์พืช
ประวัติความเป็นมาของนิเวศภูมิทัศน์นั้นเริ่มต้นจากผลงานชื่อ ทฤษฏีว่าด้วยชีวภูมิศาสต์ของเกาะ ซึ่งเขียนโดยแมคอาเธอร์และวิลสัน ผลงานชิ้นนี้เสนอว่าความหลากหลายทางชีวภาพของเกาะต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากพลังที่เบียดขับกันระหว่างการขยายตัวของสิ่งมีชีวิตจากแผ่นดินใหญ่กับการสูญพันธุ์อย่างเฟ้นสุ่ม มโนทัศน์ว่าด้วยเรื่องชีวภูมิศาสตร์ของเกาะนั้นเป็นผลจากการแปลอย่างรวบยอดให้เกาะในทางกายภาพกลายเป็นแผ่นที่เป็นแหล่งอาศัยด้วยตัวแบบทางอภิประชากรของเลวิน (ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับตัวอย่างเช่นเกาะที่มีป่าในภูมิทัศน์ทางการเกษตร)
การสรุปรวบยอดดังกล่าวนี้ทำให้เกิดการขยายตัวของสาขาวิชานิเวศภูมิทัศน์และทำให้นักชีววิทยาอนุรักษ์ได้มีเครื่องมือใหม่ในการทำความเข้าใจว่าการแตกกระจายของแหล่งอาศัยมีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของประชากรสิ่งมีชีวิตอย่างไร ความก้าวหน้าของนิเวศภูมิทัศน์ในปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่เปิดให้เข้าถึงได้มากขึ้น
ในขณะที่วิชาภูมิศาสตร์ทั่วไปและสาขาวิชาย่อยนั้นเน้นไปที่การศึกษากลุ่มชุมชนเฉพาะที่มีความเป็นเอกพันธุ์และจัดการตนเองด้วยระบบชั้นสูงต่ำ วิชานิเวศภูมิทัศน์นั้นเกิดขึ้นบนการศึกษาพื้นที่และเวลาที่มีความเป็นพหุพันธุ์ ที่ความเปลี่ยนแปลงในทางภูมิทัศน์นั้นมาจากมนุษย์ทั้งในทางทฤษฏีและในการประยุกต์ใช้คอนเซปต์ต่างๆ กระทั่งในปี 1980 นิเวศภูมิทัศน์นั้นก็ได้กลายเป็นสาขาวิชาหนึ่งเต็มตัว โดยมีหมุดหมายคือการจัดตั้งสมาคมนิเวศภูมิทัศน์นานาชาติหรือ IALE ขึ้นในปี 1982
แนวทางการศึกษานิเวศวิทยาภูมิทัศน์
ในปัจจุบัน นิเวศวิทยาภูมิทัศน์สามารถถูกแบ่งออกด้วยแนวทางในการศึกษาได้อย่างน้อยหกประเภท โดยกลุ่มหนึ่งมีแนวทางการศึกษาโน้มไปในแนวแบบวิชานิเวศวิทยาโดยเฉพาะ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมีลักษณะเป็นสหสาขาวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยมีแนวโน้มไปในภูมิศาสตร์แนวบูรณาการ ซึ่งทั้งหกประเภทมีดังนี้
1. การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์สหสาขาวิชาว่าด้วยหน่วยย่อยของภูมิทัศน์ที่นิยามไว้ในเชิงอัตวิสัย: ภูมิทัศน์ที่ถูกนิยามด้วยวิธีการและรูปแบบในการใช้แผ่นดินและพื้นที่
2. ภูมิศาสตร์ในทางทอโพโลยีว่าด้วยขนาดของภูมิทัศน์: ภูมิทัศน์ถูกนิยามในฐานะพื้นที่พหุพันธุ์ที่ประกอบขึ้นด้วยการรวมตัวกันของระบบนิเวศหลากหลายแบบ
3. ภูมิศาสตร์ทอโพโลยีระดับมหภาคที่มีสิ่งมีชีวิตเป็นศูนย์กลาง: ปฏิเสธแนวทางแบบทรอลล์ โดยเสนอว่าภูมิทัศน์นั้นจะถูกนิยามโดยไม่เกี่ยวข้องกับคำจำกัดความของมนุษย์แต่อย่างใด
4. ภูมิศาสตร์ทอโพโลยีว่าด้วยภูมิทัศน์ในระดับระบบหรือองค์กรทางชีววิทยา
5. การศึกษาวิเคราะห์ระบบทางนิเวศวิยา-สังคมด้วยวิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
6. นิเวศวิทยาที่มีความหมายในทางวัฒนธรรมของภูมิทัศน์เชิงโลกทัศน์เป็นตัวนำ: นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ถูกจำกัดความไว้ในฐานะนิเวศวิทยาที่มีเป้าหมายหลักในการดำรงและพัฒนาภูมิทัศน์ในเชิงโลกทัศน์