Garden Design การออกแบบจัดสวนเป็นศิลปะและกระบวนการของการออกแบบและการสร้างแผนสำหรับการปลูกสวนและภูมิทัศน์ การออกแบบจัดสวนอาจจะทำโดยเจ้าของสวนด้วยตัวเองหรือทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งต่างคนต่างมีความแตกต่างในแง่ของระดับของประสบการณ์และความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป นักออกแบบสวนมืออาชีพโดยส่วนใหญ่มีการฝึกอบรมในระดับสูงว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสวนและหลักการของการออกแบบ และนอกจากนั้นบางส่วนยังเป็นสถาปนิกภูมิทัศน์ที่มีความชำนาญในระดับสูง ซึ่งเป็นการศึกษาอย่างเป็นทางการในระดับสูงและโดยส่วนใหญ่จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐส่วนกลาง ในบางกรณี ผู้นิยมออกแบบจัดสวนสมัครเล่นอาจเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ระดับสูงจากชั่วโมงการทำงานในสวนของตัวเองมาอย่างยาวนาน หรือได้ประสบการณ์การออกแบบสวนด้วยการผ่านการศึกษาที่เป็นระเบียบทางการอย่างหลักสูตรการออกแบบจัดสวนขั้นสูงหรือโดยการเข้าร่วมชมรมผู้นิยมออกแบบและจัดสวน แนวคิดเบื้องต้นของการทำสวน ไม่ว่าสวนนั้นจะถูกออกแบบด้วยมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นก็ตาม หลักการสำคัญที่รวมกันเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบจัดสวนให้มีประสิทธิภาพนั้นก็ต้องถูกระบุไว้เพื่อให้การออกแบบจัดสวนได้ผลสำเร็จออกมาตามที่ต้องการ นั่นคือการบรรลุตามความประสงค์ของข้าวของหรือผู้ออกแบบนั่นเอง องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบจัดสวนนั้นได้แก่สิ่งที่เป็นภูมิทัศน์แข็งอย่างเช่นทางเดิน กำแพง องค์ประกอบที่มีน้ำเป็นส่วนเกี่ยวข้อง และรวมไปถึงต้นไม้หรือพืชบางชนิดด้วย โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางด้านพืชกรรมสวน, รูปลักษณ์ในแต่ละฤดูกาล, รูปโฉมภายนอก, ช่วงอายุ, ลักษณะของการเจริญเติบโต, ขนาด, ความเร็วในการเจริญเติบโต, และการผสมผสานอยู่ร่วมกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ และถูมิทัศน์ของตัวสวนด้วย นอกจากนี้เรื่องของการทำนุบำรุงรักษาสวนโดยรวมก็ต้องนำเข้ามาพิจารณาอย่างมีนัยสำคัญด้วย โดยในประเด็นนี้ก็มีเรื่องของเวลาและต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการบำรุงรักษาที่จ้องทำอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดการส่งผลต่อตัวเลือกของพืชพันธุ์ที่จะนำมาปลูก ที่จะต้องพิจารณาเรื่องความรวดเร็วในการเจริญเติบโต การยายตัวหรือการหว่านเมล็ดด้วยตัวเองของพืช ต้องดูว่าพืชมีลักษณะวงจรชีวิตแบบจบครบรอบในหนึ่งปี (annual) หรือเป็นพืชที่มีอายุยืนเกินกว่าสองปีขึ้นไป (perennial) ประวัติศาสตร์ของการจัดสวน ในทางประวัติศาสตร์นั้น ต้นกำเนิดของการออกแบบจัดสวนมีจุดเริ่มต้นมาจากสวนเปอร์เซียที่เป็นกำเนิดของการออกแบบจัดสวนเพื่อหวังผลทางสุนทรียศาสตร์และใช้การวางแบบร่างเป็นเส้นตรง การปลูกต้นไม้ในสวนยุโรปยุคกลางนั้นมักจะเป็นการเพาะปลูกผสมผสานระหว่างสมุนไพรเพื่อนำไปใช้เป็นยา, พืชผักที่นำไปใช้บริโภค และไม้ดอกที่นำไปใช้สำหรับประดับตกแต่ง การเพาะปลูกพืชเพื่อเป้าหมายทางสุนทรียศาสตร์เพียงอย่างเดียวนั้นกำเนิดขึ้นในยุโรปหลังจากสิ้นสุดยุคกลางและทวีปยุโรปได้เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการหรือ renaissance แล้ว ดังที่ปรากฏในภาพวาดจากตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการนั่นเอง ส่วนในทางเอเชีย แนวทางการออกแบบและจัดสวนอย่างสมมาตรที่ปรากฏในสวนจีนและสวนญี่ปุ่นนั้นก็มีจุดกำเนิดในยุคราชวงศ์ฉินของจีน การเพาะปลูกและจัดวางองค์ประกอบในธรรมเนียมการออกแบบจัดสวนประเภทที่ว่านี้ดำเนินอยู่บนหลักว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ที่ถูกตีกรอบและคงความเป็นธรรมชาติหรือลักษณะธรรมชาตินิยมไว้ โดยสวนญี่ปุ่นนั้นเป็นการออกแบบและจัดสวนที่มีแนวคิดและเป้าประสงค์ในการสร้างภูมิทัศน์ในอุดมคติขนาดย่นย่อและมักจะปรากฏออกมาในลักษณะแบบมินิมัลลิสม์และมีความเป็นนามธรรมอยู่สูง ทั้งนี้ก็ยังเป็นการออกแบบจัดสวนที่เป็นไปเพื่อการผ่อนคลายและในกรณีของสวนเซ็นนั้นก็ยังเป็นการออกแบบและจัดสวนเพื่อการพิจารณาใคร่ครวญและการทำสมาธิในแนวคิดแบบพุทธศาสนาอีกด้วย โดยต้นกำเนิดแล้ว การออกแบบและจัดสวนของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบและจัดสวนแบบจีน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นการออกแบบและจัดสวนที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองในที่สุดในยุคเอโดะ
สวนภูมิทัศน์อังกฤษ หรือเรียกอีกอย่างว่าสวนอังกฤษนั้นหมายถึงสไตล์การจัดตกแต่งสวนภูมิทัศน์ที่ปรากฏครั้งแรกในสหราชอาณาจักรศตวรรษที่สิบแปดตอนต้น และได้แพร่กระจายไปในยุโรปวงกว้างในเวลาต่อมา และได้รับความนิยมจนขึ้นเป็นสไตล์การจัดสวนหลักในยุโรป แทนที่การจัดสวนในสไตล์ที่เป็นทางการกว่าและมีความสมมาตรมากกว่าอย่าง ฌาร์แดง อา ลา ฟรังเซ ที่มีมานับตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเจ็ด สวนภูมิทัศน์อังกฤษนั้นนำเสนอภาพลักษณ์ในอุดมคติของธรรมชาติ สไตล์การจัดสวนดังกล่าวนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพวาดภูมิทัศน์โดยโคล้ด ลอร์รังและนิโคลาส ปูแซง และในกรณีของการจัดสวนแบบผสมอังกฤษ-จีนนั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการการจัดสวนแบบจีนที่เพิ่งถูกนำเข้ามาในยุโรปได้ไม่นานนักผ่านทางปากคำบอกเล่าบรรยายของนักท่องเที่ยว จุดเด่นของสวนสไตล์อังกฤษ สวนภูมิทัศน์อังกฤษนั้นมักจะประกอบไปด้วยทะเลสาบ สนามหญ้าเกลี่ยเรียบเกลี้ยงที่จัดไว้เทียบเคียงกับป่าสุมทุมพุ่มไม้ และยังมีแบบจำลองของอารามโบราณ และซากปรักหักพังของอาคารสไตล์โกธิค สะพานแบบต่างๆ และสถาปัตยกรรมสวยงามราวภาพวาดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดต่างสร้างขึ้นเพื่อหวังผลเป็นภาพท้องทุ่งภูมิทัศน์หมดจดราวบทกวี ผลงานการจัดตกแต่งสวนของ แลนเซลอท “แคพาบิลิตี” บราวน์ นั้นมีอิทธิพลอย่างมากเป็นพิเศษ ในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่สิบแปด สวนภูมิทัศน์อังกฤษ นั้นก็ถูกลอกเลียนต่อมาโดยสวนภูมิทัศน์ฝรั่งเศสและสวนในอนาคตกาลของจักรพรรดิพอลที่เซนต์ปีเตอร์สบูร์ก ประเทศรัสเซีย นอกจากนั้น สวนภูมิทัศน์อังกฤษยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบของสวนสาธารณะและสวนในบ้านที่เริ่มปรากฏขึ้นทั่วโลกในศตวรรษที่สิบเก้า ความเป็นมาของการตกแต่งสวนสไตล์อังกฤษ ตามประวัติศาสตร์แล้ว ก่อนหน้าสวนภูมิทัศน์อังกฤษนั้นก็มีสวนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือสวนขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยเซอร์ จอห์น แวนบรากห์ และ นิโคลลาส ฮอว์กส์มัวร์ ที่คาสเซิลฮาเวิร์ด (1699-1712) เบลนไฮม์พาเลซ (1705-1722) และสวนภูมิทัศน์แคลร์มองต์ที่แคลร์มองต์เฮาส์ (1715-1727) สวนเหล่านี้มีทั้งสนามหญ้ากว้างใหญ่ ป่าปลูก และสถาปัตยกรรมหลายชิ้น ตรงจุดกึ่งกลางของสวนนั้นก็จะเป็นที่ตั้งของตัวบ้าน โดยด้านหลังนั้นจะเป็นสวนที่มีลักษณะทางการและสมมาตรในสไตล์การจัดสวนแบบฝรั่งเศสที่มีทั้งพรมประดับไม้ดอกที่ออกแบบการจัดวางให้เกิดลวดลายสวยงามและกำแพงพฤกษา..
Earthquake Engineering วิศวกรรมแผ่นดินไหวเป็นสาขาหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการป้องกันสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นให้รอดพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ด้วยการพยายามลดหรือจำกัดแรงสั่นสะเทือนที่จะส่งผลเสียหายในเชิงเศรษฐกิจและสังคมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกินไป โดยพื้นฐานดั้งเดิมแล้ว สาขาวิชาวิศวกรรมแผ่นดินไหวนั้นได้รับการจำกัดความให้เป็นการศึกษาว่าด้วยพฤติกรรมของโครงสร้างต่างๆ และประเด็นเรื่องภูมิศาสตร์โครงสร้างที่มีต่อแรงกดของการสั่นสะเทือน วิศวกรรมแผ่นดินไหวจึงถือเป็นสาขาวิชาย่อยของทั้งวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมธรณีเทคนิค อย่างไรก็ตาม ค่าเสียหายที่ต้องจ่ายจำนวนมหาศาลหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งต่างๆ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ได้นำไปสู่การขยายประเด็นของวิศวกรรมแผ่นดินไหวเพื่อให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่สาขาวิชาของวิศวกรรมโยธาและพื้นที่สาขาวิชาของสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการเงินหรือบัญชี เป้าประสงค์หลักๆ ของวิศวกรรมแผ่นดินไหวนั้นได้แก่ -ระบุอย่างกะเกณฑ์ได้ว่าผลกระทบที่เป็นไปได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่กำลังจะเกิดนั้นจะมีผลต่อพื้นที่เขตตัวเมืองและโครงสร้างส่วนล่างของเมืองมากน้อยเพียงใด -ออกแบบวางแผน ก่อสร้าง และรักษาโครงสร้างหรือสิ่งก่อสร้างที่สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางเหตุการณ์แผ่นดินไหวโดยผ่านเกณฑ์ขั้นที่น่าพอใจของกฎหมายตรวจสอบอาคารหรือ building code แต่ทั้งนี้ สิ่งปลูกสร้างที่ถูกออกแบบก่อสร้างอย่างเหมาะสมนั้นไม่จำเป็นจะต้องหมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีราคาแพงหรือแข็งแรงเป็นพิเศษ เพียงแต่จะต้องเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถูกออกแบบมาให้สามารถรับมือกับแรงสั่นสะเทือนได้อย่างเหมาะสมในขณะที่สามารถรองรับความเสียหายในระดับที่ไม่มากเกินไปไว้กับตัวมันเองได้ การประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างเพื่อรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว การก่อสร้างโครงสร้างที่ต่อต้านแรงสั่นของแผ่นดินไหวนั้นหมายถึงการประยุกต์การออกแบบแรงสั่นเพื่อนำมาใช้ก่อสร้างอาคารจริง เพื่อให้ทั้งโครงสร้างทั้งที่เป็นอาคารและไม่ได้เป็นอาคารสารดำรงอยู่ได้หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและแรงสั่นสะเทือนในระดับที่ได้คาดคะเนไว้ล่วงหน้าได้ผ่านเลยไปแล้วโดยเป็นตามที่กฎหมายตรวจสอบอาคารหรือ building code ได้ระบุเอาไว้ การออกแบบและการก่อสร้างนั้นมีความสัมพันธ์อย่างล้ำลึก เพื่อที่จะได้งานก่อสร้างที่ดี การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกและความสัมพันธ์ที่แต่ละฝ่ายมีต่อกันนั้นควรจะเป็นไปอย่างเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในกรณีการก่อสร้างโดยทั่วไปนั้น การวิศวกรรมแผ่นดินไหวนั้นเป็นกระบวนการที่ว่าด้วยการก่อสร้างตัวโครงสร้างและการจัดวางหรือสลับปรับเปลี่ยนวัสดุหรือองค์ประกอบในการก่อสร้างที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม ผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเสียความเสถียรภาพที่เป็นผลมาจากแรงสั่นของแผ่นดินไหวที่มีต่อตัวสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นได้ทั้งแบบโดยตรง นั่นคือแรงสั่นดำเนินผ่านพื้นดิน หรือแบบโดยอ้อม นั่นคือแรงสั่นนำไปสู่ภัยพิบัติรูปแบบอื่นๆ เช่นดินถล่ม ชั้นดินเหลว และคลื่นยักษ์สึนามิ เป็นต้น ตัวโครงสร้างนั้นโดยในเบื้องแรกอาจดูมีความเสถียรและแข็งแรงมากพอ แต่ก็ยังสามารถก่อให้เกิดอันตรายที่คาดไม่ถึงได้หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการต่อต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวนั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการตรวจสอบคุณภาพของสิ่งปลูกสร้างและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมถูกต้อง เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวนั้นควรได้รับการติดตั้งในบริเวณที่จำเป็นเหมาะสมและควรได้รับการตรวจสอบด้วยผู้เชียวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดระดับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นให้ต่ำลงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กระบวนการก่อสร้างจึงควรดำเนินไปโดยตระหนักรู้อยู่เสมอว่าแผ่นดินไหวอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้น โครงการก่อสร้างใดๆ จึงต้องมีการจัดหาทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เป็นมืออาชีพที่สามารถเข้าใจปรากฏการณ์และภาวะแสดงออกของการสั่นสะเทือนต่อโครงสร้างแต่ละแบบที่แตกต่างกันรวมไปถึงการจัดการโครงสร้างเล่านั้นด้วย..
คานรับน้ำหนักคือองค์ประกอบในทางโครงสร้างอันหนึ่งที่มีสมรรถภาพในการรองรับแรงกดหรือแรงถ่วงด้วยการไม่เอนอ่อนเป็นหลัก แรงกดและแรงบิดจะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ตัววัสดุที่ทำหน้าที่เป็นคานรับน้ำหนักเพราะเป็นผลมาจากการถ่วงจากภายนอกหรือน้ำหนักส่วนเกินของตัววัสดุเอง ช่วงห่างหรือ span และปฏิกิริยาภายนอกที่มีต่อการถ่วงเหล่านี้ถูกเรียกว่าชั่วโน้มเอียง (bending moment) คานรับน้ำหนักนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ที่รูปร่างโดยทั่วไปของมันอันได้แก่ความยาวและวัสดุที่ประกอบขึ้นอันเป็นที่มาของมัน ลักษณะทั่วไปของคานรับน้ำหนัก โดยทั่วไปแล้ว คานรับน้ำหนักถูกใช้เป็นชื่อเรียกหรือคำอธิบายในสาขาของการก่อสร้างหรือการวิศวกรรมโยธาองค์ประกอบทางโครงสร้าง แต่ในระบบโครงสร้างขนาดเล็กอย่างเช่นรถบรรทุกหรือยานพาหนกรอบเครื่องยนต์, กรอบจักรกล รวมไปถึงระบบเครื่องยนต์และและโครงสร้างแบบอื่นๆ นั้นก็มีคานรับน้ำหนักเป็นส่วนประกอบ ซึ่งตัวคานรับน้ำหนักของโครงสร้างพวกนี้นั้นก็ได้รับการวิเคราะห์และออกแบบด้วยกรรมวิธีการที่ใกล้เคียงกัน ประวัติความเป็นมา พูดในทางประวัติศาสตร์แล้ว คานรับน้ำหนักนั้นทำจากวัสดุอย่างท่อนไม้สี่เหลี่ยมและยังทำจากเหล็ก หิน และวัสดุผสมระหว่างเหล็กและไม้อย่างเช่น flitch beam คานรับน้ำหนักโดยทั่วไปรองรับแรงโน้มถ่วงในแนวดิ่งแต่ในบางกรณีก็ยังสามารถใช้เพื่อแบกรับแรงถ่วงในแนวขวางได้ด้วย (เช่นแรงผลักที่เกิดจากแผ่นดินไหวหรือลมพายุหรือการใช้คานรับน้ำหนักรั้งวัตถุในกระแสน้ำ แรงถ่วงที่กระทำกับคานรับน้ำหนักจะถูกส่งทอดต่อไปยังเสา กำแพง และนั่งร้าน ที่ต่อมาแรงที่เหลือจะถูกส่งต่อไปยังองค์ประกอบในโครงสร้างชิ้นอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง ประเภทของคานรับน้ำหนัก ในทางวิศวกรรมนั้น คานรับน้ำหนักสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท การจัดแบ่งประเภทของคานรับน้ำหนักนั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีรองคานเป็นเกณฑ์ดังนี้คือ 1. การรองคานแบบเรียบง่าย-คานรับน้ำหนักจะถูกใช้รองรับที่ปลายทั้งสองด้านที่ต่างสามรถหมุนไปมาได้อย่างอิสระไม่มีสิ่งใดกั้นขวาง 2. การรองคานแบบหยุดนิ่งกับที่-คานรับน้ำหนักจะขยายการรองรับจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 3. การวางคานแบบแขวนโหน-คานรับน้ำหนักรูปทรงปกติจะถูกวางให้ยืดยาวออกจากฝั่งที่มันตั้งอยู่ออกไป 4. การวางคานแบบแขวนโหนสองด้าน-คานรับน้ำหนักรูปทรงปกติที่ปลายทั้งสองด้านยื่นออกเกินกว่าโครงสร้างบนที่มันรองรับ 5. การวางคานต่อเนื่อง-คานรับน้ำหนักแต่ละอันจะถูกวางให้ยืดออกรับเกินกว่าโครงสร้างบนสองส่วน 6. การวางแบบคานยื่น-คานรับน้ำหนักแบบยื่นจะถูกติดตั้งไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง 7. การวางแบบคานค้ำ-คานรับน้ำหนักถูกยึดตรึงด้วยการติดสายหรือท่อนโลหะจากคาน คานรับน้ำหนักโดยส่วนใหญ่ที่ถูกติดตั้งในตึกอาคารแบบคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีรูปร่างวัดด้านตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่รูปทรงแนวตัดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าคือทรงตัว H ทั้งแนวตั้งและแบบแนวนอน I ซึ่งต่างมักจะถูกใช้ในโครงสร้างอาคารที่เป็นเหล็กกล้า เนื่องมาจากสัจพจน์ว่าด้วยแกนขนานและข้อเท็จจริงที่ว่าวัสดุที่ถูกนำมาใช้โดยส่วนใหญ่นั้นห้างไกลจากคุณสมบัติเป็นแกนกลาง..
สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นคือสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นโดยชาวกรีกโบราณหรือชาวเฮเลนนิคที่อยู่ในวัฒนธรรมซึ่งเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของกรีกและเพโลพอเนซุส รวมไปถึงเกาะแอเกียนและอาณานิคมน้อยใหญ่ในเอเชียไมเนอร์และอิตาลี นับตั้งแต่ช่วงเวลาเก้าร้อยปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริศตศตวรรษที่หนึ่ง โดยสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่นั้นตรวจสอบพบว่าถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณหกร้อยปีก่อนคริสตกาล ประวัติความเป็นมา สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีความโดดเด่นในเรืองอาคารที่ใช้เป็นอาราม ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไปในดินแดนแถบนั้น แม้ว่าจะเหลือเป็นซากปรักพังโดยส่วนใหญ่แต่ก็ยังคงรูปและโครงสร้างไว้ได้อย่างแข็งขัน สิ่งปลูกสร้างอีกประเภทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่ยังคงหลงเหลือมาจากโลกเฮเลนนิคมาสู่ยุคสมัยปัจจุบันนั้นคือโรงมหรสพกลางแจ้งที่ตรวจสอบพบว่าโรงที่เก่าแก่ที่สุดนั้นถูกสร้างไว้ตั้งแต่ราวสามร้อยห้าสิบปีก่อนคริสตกาลโดยประมาณ สถาปัตยกรรมอีกประเภทที่ยังถูกค้นพบหลักฐานก็คือช่องทางเดินสำหรับพิธีการหรือ Propylon จัตุรัสกลางเมืองหรือ Agora ที่ล้อมรอบด้วยทางเดินล้อมเสาเป็นชั้นหรือ Stoa นอกจากนั้นยังมีอาคารว่าการของเมืองหรือ Bouleuterion อนุสรณ์สาธารณะและหลุมศพหรือ mausoleum และสนามกีฬาหรือ stadium ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกรีกโบราณ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นมีความโดดเด่นต่างจากสถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ ด้วยลักษณะที่เป็นแบบแผนทางการอย่างยิ่งยวด ทั้งในแง่ของโครงสร้างและการตกแต่งประดับประดา คุณสมบัติดังกล่าวนี้จะปรากฏชัดอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาในกรณีของอารามต่างๆ ที่ในขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างนั้นจะถือว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างแต่ละหลังนั้นถือเป็นงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งที่ถูกจัดวางท่ามกลางภูมิทัศน์เบื้องหลัง โดยสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายนั้นมักถูกยกให้สูงขึ้นจากพื้นด้วยการสร้างฐานรองสูง เพื่อให้ตัวอาคารเหล่านั้นสามารถสำแดงสัดส่วนอันสง่างามออกมาและเพื่อให้ผลตกกระทบของแสงที่มีต่อตัวอาคารนั้นสามารถถูกมองเห็นจากทุกมุมรอบด้าน นิโคเลาส์ เปฟสเนอร์ได้กล่าวไว้ว่า “รูปร่างที่ยืดหยุ่นของอารามกรีกนั้นถูกจัดเรียงไว้เบื้องหน้าเราที่เป็นผู้ชมพร้อมกับภาพปรากฏทางกายภาพที่มีความเข้มข้นและมีชีวิชีวายิ่งกว่าสิ่งปลูกสร้างชิ้นอื่นใดๆ” ประเภทของสถาปัตยกรรมในอารยธรรมกรีกโบราณ คำศัพท์ที่ใช้ในสถาปัตยกรรมกรีกโบราณโดยเพาะที่ใช้เรียกสไตล์การออกแบบนั้นแบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือสถาปัตยกรรมแบบโดริก แบบไอโอนิค และแบบโครินเธียน การแบ่งประเภของสถาปัตยกรรมนี้มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นพัฒนาขึ้นบนกรีกภาคพื้นแผ่นดินใหญ่และยังคงเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพลในประเทศอิตาลีนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการหรือ Renaissance เป็นต้นมา การย้อนกลับไปหาหรือการฟื้นคืนศิลปะและแนวคิดแบบคลาสสิคได้ส่งผลให้ไม่เพียงแค่การสืบทอดรูปแบบของสถาปัตยกรรมกรีกโบราณอย่างเที่ยงตรงและประณีตทุกรายละเอียดเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบทอดสายความคิดและมโนทัศน์ว่าด้วยความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่วางอยู่บนความสมดุลและการจัดวางสมส่วนต่อมาอีกด้วย สไตล์ทางสถาปัตยกรรมในรุ่นต่อมาอย่างสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิคและสถาปัตยกรรมกรีกฟื้นฟูนั้นดำเนินรอยตามและปรับประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมกรีกโบราณแทบจะทุกแง่มุม ดังที่กล่าวไว้ว่าสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่โดดเด่นที่สุดคืออารามจึงควรกล่าวถึงศาสนาความเชื่อในกรีกยุคโบราณว่ามีผลอย่างไรต่อการก่อสร้าง ศาสนาในยุคกรีกโบราณนั้นจัดอยู่ในหมวดของความเชื่อที่เคารพบูชาธรรมชาติซึ่งเป็นศาสนาที่เติบโตออกมาจากวัฒนธรรมในยุคก่อนหน้าอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ คือ ศาสนาของกรีกโบราณนั้นไม่ถือว่ามนุษย์จะถูกคุกคามหรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติโดยสิ้นเชิง แต่มนุษย์ถูกถือว่าเป็นสิ่งที่พิเศษล้ำกว่าอื่นใด คือเป็นสิ่งที่มีทั้งระเบียบและความกระหายอยากทั้งต่อสติปัญญาและความงดงาม ดังจะเห็นได้จากการที่พลังธรรมชาติต่างๆ นั้นจะถูกทำให้กลายร่างเป็นมนุษย์ในความเชื่อของกรีก..
ช่วงนี้ โรงงาน นครภัณฑ์ ได้รับการติดต่อ สั่งผลิตลูกกรงปูนจำนวนมหาศาล จากย่าน จังหวัด สมุทรปราการ โรงงาน นครภัณฑ์ มีความยินดี ที่ลูกกรงปูนซีเมนต์
การตกแต่งบ้าน ให้เป็นแนวตะวันตก จะหลีกหนีเสาโรมันไปได้ยากทีเดียว ผู้ที่มีความสนใจในการตกแต่งบ้านหรู ก็ต้องจัดหาเสาโรมันมาประดับตกแต่งให้เข้ากับบ้าน