เสาหรือ pillar หรือ column ในภาษาอังกฤษนั้นมีความหมายในทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมเชิงโครงสร้างว่าเป็นโครงสร้างที่มีหน้าที่สำหรับส่งผ่านน้ำหนักของโครงสร้างส่วนบนผ่านการกดทับไปยังองค์ประกอบที่อยู่ข้างใต้ ในอีกความหมายหนึ่ง เสาจึงถือเป็นองค์ประกอบในกระบวนการกดทับของโครงสร้าง คำว่าเสานั้นสามารถใช้ได้โดยเฉพาะกับตัวค้ำยันที่มีลักษณะทรงกระบอกที่ส่วนยอดและส่วนฐาน สร้างขึ้นด้วยหินหรือมีรูปลักษณ์เป็นเช่นนั้น เสาที่สร้างขึ้นจากไม้หรือเหล็กที่ใช้ค้ำจะถูกเรียกว่า post ในภาษาอังกฤษในบางกรณีที่ตัวอาคารจะต้องเผชิญหน้ากับลมหรือแผ่นดินไหวที่รุนแรงนั้น วิศวกรก็จะออกแบบตัวเสาให้มีคุณสมบัติต้านทานแรงผลักในแนวขวางอย่างเป็นพิเศษ นอกจากนั้นเสายังสามารถมีหน้าที่ในการประดับประดาตกแต่งตัวโครงสร้างโดยไม่ได้มีความจำเป็นในฐานะตัวค้ำโครงสร้างส่วนบนแต่อย่างใดได้ด้วย ประวัติและความเป็นมาของเสา ประวัติของการสร้างเสานั้นสันนิษฐานว่าเริ่มมาจากอารยธรรมอันใดอันหนึ่งในยุคเหล็กของภูมิภาคทางตะวันออกกลางและแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยแรกเริ่มนั้นมีการสร้างเสาเพื่อนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม โดยตัวเสาจะมีโครงสร้างเป็นหินที่มีส่วนหนึ่งเว้นไว้สำหรับให้เป็นรูปสลัก พบจากร่องรอยว่ารูปสลักนั้นเป็นผลงานของช่างชาวอียิปต์ เปอร์เซีย และ อารยธรรมอื่นๆ ด้วย ส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อในการรับน้ำหนักจากโครงสร้างส่วนบน เช่น หลังคา และภายในของตัวอาคารและมีการตกแต่งด้วยสีสันหรือภาพวาดต่างๆ แต่ชาวกรีกโบราณจะนิยมใช้ไม้ที่มีขนาดกว้างขวางมากกว่ามาสร้างเป็นเสาทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยเน้นไปในทางรูปแบบงานเสาแบบคลาสลิค ประเภทของเสาในอารยธรรมโบราณ วิตรูเวียส นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันได้เล่าโดยอ้างอิงจากงานของนักเขียนกรีกไร้นามคนหนึ่งว่า ชาวกรีกโบราณนั้นเชื่อว่าเสาแบบโดริกนั้นพัฒนามาจากเทคนิคที่ใช้ในการสร้างอาคารไม้ โดยเปลี่ยนจากไม้ขัดเนื้อนิ่มมาเป็นแท่งหินกลมแทน เสาแบบโดริกนั้นเป็นงานสร้างเสาในรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดและซับซ้อนน้อยที่สุดในธรรมเนียมการสร้างเสาแบบคลาสสิค โครงสร้างโดยหลักของเสาโดริกนั้นประกอบด้วยตัวเสาหินที่มีขนาดกว้างตรงส่วนฐาน โดยทั่วไปแล้วไม่มีการลงรายละเอียดตกแต่งใดๆ เป็นพิเศษ เสาโดริกนั้นถูกพัฒนาขึ้นในเขตโดเรียนของกรีกโบราณ ถือกันว่าเป็นงานสร้างเสาที่มีมวลและน้ำหนักมากที่สุดจากบรรดางานสร้างเสาของกรีกโบราณทั้งหมด เสาในแบบต่อมาคือเสาแบบทัสกันที่มีรูปลักษณ์การออกแบบที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับเสาโดริก มีอัตราส่วนระหว่างความสูงกับความกว้างโดยประมาณอยู่ที่ 7:1 โดยประมาณ
การวางหรือการก่อสร้างฐานรากนั้นเป็นการก่อสร้างส่วนที่อยู่ล่างสุดของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม โดยการก่อสร้างฐานรากนั้นแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือการสร้างฐานรากแบบตื้นและการสร้างฐานรากแบบลึก การออกแบบและการก่อสร้างประเภทนี้เรียกในอีกชื่อได้ว่าเป็นงานวางฐาน โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงโครงการก่อสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ จุดกำเนิดของวิศวกรรมฐานราก การวางหรือการก่อสร้างรากฐานนั้นสามารถนับย้อนไปในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่โบราณที่ปรากฏมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่การใช้ไม้ค้ำจุนโครงสร้างเรือนหรือการก่อสร้างและค้ำด้วยกิ่งก้านหลายอัน ไปจนถึงการวางหินรองพื้นหรือการทำดรายสโตนด้วยการวางหินในชั้นฐานรากแล้วฉาบด้วยปูนซึ่งอาจจะทำหลังการก่อสร้างโครงสร้างหลักสำเร็จแล้ว (วิธีการนี้อาจถูกนำไปทำไว้ตรงส่วนบนของโครงสร้างเพื่อแสดงออกในฐานะการประดับตกแต่งก็ได้) จนมาสู่วิธีการก่อสร้างฐานรากที่ใช้การขุดชั้นดินเป็นสนามเพลาะแล้วถมด้วยยางหรือหินตรงส่วนรากฐาน แนวทางการก่อสร้างรากฐานดังกล่าวนี้จะสามารถยืดขยายลงไปในชั้นดินได้พ้นไปจากแนวชั้นเยือกแข็งที่ชั้นดินและน้ำใต้ดินจะจับตัวเยือกแข็ง รูปแบบการวางฐานรากสมัยใหม่ ส่วนการสร้างฐานรากในสมัยใหม่นั้น ประเภทหนึ่งคือการสร้างฐานรากแบบตื้นหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าฟุตติ้ง การก่อสร้างฐานรากแบบนี้จะฝังลงไปในดินในระดับหนึ่งเมตรโดยประมาณ รูปแบบทั่วไปอันหนึ่งคือการฟุตติ้งแบบแยกกระจายที่ใช้บางส่วนหรือแผ่นของปูนคอนกรีตหรือวัสดุอื่นๆ ที่จะยืดยาวลงไปในดินพ้นแนวชั้นเยือกแข็งเพื่อรับแรงกดจากกำแพงและเสาในตัวอาคารแล้วส่งลงไปในดินหรือหินหมอนที่รองรับ อีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างฐานรากแบบตื้นนั้นคือการสร้างฐานแบบ slab-on-grade หรือการสร้างฐานรากบนแผ่นหนาที่น้ำหนักของตัวอาคารจะถูกส่งไปยังชั้นดินผ่านแผ่นปูนคอนกรีตหนาที่วางไว้บนพื้นผิว โดยขนาดของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างฐานรากประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของโครงสร้างโดยวัสดุสามารถมีความหนาตั้งแต่ที่ยี่สิบเซนติเมตรไปจนถึงความหนาหลายเมตร ประเภทที่สองคือการสร้างฐานรากแบบลึกที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งน้ำหนักของโครงสร้างผ่านชั้นดินอ่อนด้านบนลงไปยังชั้นดินล่างที่แข็งแรงกว่า การสร้างฐานรากแบบลึกนั้นมีหลากหลายแบบตั้งแต่การวางตอม่อเพื่อขับแรงสะเทือน, การวางคานเจาะ, การใช้เคซองหรือห้องใต้น้ำมีอากาศสำหรับสร้างสะพาน, การใช้เสาทำให้แผ่นดินเสถียร ธรรมเนียมการเรียกการสร้างฐานรากในแบบต่างๆ นั้นมีความเหลื่อมกันไปขึ้นอยู่กับวิศวกรแต่ละคน รากฐานนั้นจะถูกออกแบบให้มีสมรรถภาพในการรองรับแรงกดอย่างเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับชั้นดินรองที่หนุนตัวฐานรากอีกต่อหนึ่งซึ่งผ่านการคิดวิเคราะห์โดยวิศวกรภูมิศาสตร์เทคนิคแล้ว ส่วนในส่วนของตัวฟุตติ้งเองนั้นอาจได้รับการออกแบบโดยวิศวกรที่ทำงานในเชิงโครงสร้าง ความใส่ใจหลักของการออกแบบรากฐานนั้นคือเรื่องของการจัดตั้งและสมรรถภาพในการรองรับน้ำหนักและแรงสะเทือน เมื่อว่าด้วยเรื่องของการลงหลักปักฐานแล้ว สิ่งที่จะถูกพิจารณาต่อไปคือเรื่องที่ว่ารากฐานนั้นเป็นการลงหลักปักฐานรูปแบบใดจากสองแบบนั่นคือ การลงหลักปักฐานเต็มรูปแบบหรือการลงหลักปักฐานแบบลดหลั่นกันไป การลงหลักปักฐานแบบลดหลั่นกันไปนั้นหมายถึงเมื่อตัวฐานรากบางส่วนนั้นกดลงลึกกว่าส่วนอื่น เหตุการณ์เช่นนี้อาจนำไปสู่การสร้างปัญหาต่อตัวโครงสร้างที่ตัวฐานรากนั้นสนับสนุนรองรับอยู่ นอกจากนั้นการขยายตัวของดินเหนียวก็ยังเป็นตัวการสร้างปัญหาอีกประการหนึ่ง
น้ำพุฮวงจุ้ย เป็นรูปแบบน้ำพุที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าจนถึงร้านขายยา จากสวนสวยไปจนถึงร้านขายของชำ แต่ถ้าเป็นน้ำพุในร่มล่ะ? น้ำพุในร่มไม่ควรจัดตั้งไว้ตรงไหน? แล้วการมีน้ำพุในร่มมีประโยชน์อย่างไรในทางฮวงจุ้ย? ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการจัดตั้งน้ำพุในร่ม ข้อควรทำและไม่ควรทำ 1. ขนาดน้ำพุต้องใหญ่พอที่จะรองรับปริมาณน้ำสำหรับการทำงาน 1-2 วัน โดยไม่ต้องเติมน้ำเพิ่ม 2. ต้องหมั่นรักษาความสะอาดให้น้ำใส สะอาด และไหลอยู่เสมอ 3. ใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสำหรับดื่มเท่านั้นสำหรับน้ำพุในร่ม เนื่องจากน้ำก๊อกหรือน้ำประปาทั่วไปจะมีแบคทีเรีย แร่สนิม และแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดสนิมที่ตัวปั๊ม ทำให้เกิดน้ำสกปรก น้ำปริมาณ 1 แกลลอน เหมาะพอดีสำหรับน้ำพุตั้งโต๊ะ 4. ระวังน้ำพุบางประเภทที่น้ำมักจะแห้งหรือลดลงเร็วกว่าปกติ อาจเป็นปัญหาที่น้ำรั่วซึมหรือละเหยออกได้ง่าย หากนำปั๊มมาใส่อ่างเซรามิคที่จุน้ำได้มากพอก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ง่ายๆ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วน้ำพุที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปจะมีขนาดความจุน้ำ 8-10 ออนซ์ และมักต้องคอยเติมน้ำ 1-2 ครั้งต่อวัน แต่ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วยการนำปั้มน้ำสำหรับน้ำพุมาวางไว้ในอ่างเซรามิคที่มีขนาดกว้างประมาณ 10 นิ้ว ลึก 5-6 นิ้ว ตกแต่งโดยจัดวางหินลงไปรอบๆ ปั้ม แล้วเติมน้ำให้เต็ม ก็จะได้น้ำพุแบบ D.I.Y. โดยไม่ต้องปวดหัวกับการต้องคอยเติมน้ำบ่อยๆ อีกด้วย ควร และไม่ควรทำ: ข้อแนะนำและข้อห้ามสำหรับการตั้งน้ำพุฮวงจุ้ย..
น้ำพุฮวงจุ้ยถือเป็นการตกแต่งที่ได้รับความนิยมมากในบรรดาสิ่งของแก้เคล็ดตามหลักการฮวงจุ้ย โดยน้ำพุเพื่อเสริมฮวงจุ้ยนั้นมีหลากหลายรูปทรง ขนาด และวัสดุที่ใช้ผลิต การจัดตั้งน้ำพุแตกต่างกันไปทั้งกลางแจ้งและในที่ร่ม หรือน้ำพุแบบตั้งโต๊ะ น้ำพุตั้งโชว์ น้ำพุแบบแขวนผนัง และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับน้ำพุที่ใช้เพื่อการเสริมฮวงจุ้ย ไม่จำเป็นต้องดูสมจริงมาก เพราะในความเป็นจริงแล้ว ความสมจริงของน้ำพุไม่ได้ส่งผลถึงพลังของฮวงจุ้ยแต่อย่างใด แต่สำคัญกว่าที่น้ำพุนั้นจะต้องมีความเหมาะสมและเข้ากันได้กับการจัดแต่งบ้านในแบบฉบับของคุณเอง การตกแต่งด้วยน้ำพุเพื่อเสริมพลังในทางฮวงจุ้ยได้รับความนิยมมาก เนื่องจากน้ำพุนั้นช่วยในการดึงพลังจากน้ำ ซึ่งน้ำถือเป็นธาตุทางธรรมชาติที่มีความสำคัญธาตุหนึ่ง ตามสัญลักษณ์และความเชื่อโบราณ น้ำถือเป็นตัวแทนของความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือการตกแต่งบ้านหรือออฟฟิศด้วยน้ำพุในร่ม จะช่วยขจัดความเจ็บไข้ได้ป่วย ในทางวิทยาศาสตร์ก็คือประจุลบในบรรยากาศซึ่งทำให้ผู้ที่นั่งทำงานในบริเวณนั้นเป็นเวลานานๆ มีอาการเจ็บป่วย เช่นที่เรียกว่าออฟฟิศซินโดรม สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการตกแต่งน้ำพุในร่มไว้ในบริเวณห้อง ป้ากัว (bagua) หรือแผนผังในการจัดวางและการตกแต่งในส่วนต่างๆ ของบ้าน ที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งน้ำพุ ได้แก่ ทิศตะวันออก เป็นตัวแทนของ สุขภาพและครอบครัว ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนของ ความมั่งคั่งและเงินทอง ทิศเหนือ เป็นตัวแทนของ การงานและเส้นทางการดำเนินชีวิต จะจัดตั้งน้ำพุไว้ในทิศทางไหนก็ขึ้นอยู่กับป้ากัวของบ้าน หรือความเหมาะสมของบ้านแต่ละหลัง พิจารณาจากลักษณะของบ้านและผู้ที่อยู่อาศัย 2 สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงเสมอ เมื่อต้องการติดตั้งน้ำพุสำหรับเสริมฮวงจุ้ย 1. ไม่ควรติดตั้งน้ำพุไว้ทางทิศใต้ ซึ่งเป็นทิศสำหรับธาตุไฟ หากติดตั้งน้ำพุในบริเวณนั้นจะทำให้เกิดพลังในทางไม่ดี โดยเฉพาะความขัดแย้ง เนื่องจากธาตุไฟย่อมไม่ถูกกับธาตุน้ำ 2. ไม่ควรติดตั้งน้ำพุไว้ในห้องนอน..
ซุ้มโค้ง คานโค้ง (Arch) ช่องโค้งหรือวงโค้งหรือ arch ในภาษาอังกฤษหมายถึงส่วนของโค้งสร้างที่กางออกเหนือพื้นที่ว่างหรือช่องว่าง ซึ่งตัวช่องโค้งนั้นอาจจะรองรับแรงกดจากโครงสร้างที่อยู่ข้างบนตัวมันเองหรือไม่ก็ได้ ช่องโค้งหรือ arch ในภาษาอังกฤษอาจมีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับโครงสร้างทรงโค้งหรือ vault ในภาษาอังกฤษเพียงแต่เราอาจจะแยกแยะโครงสร้างสองประเภทออกจากกันด้วยการเรียกโครงสร้างทรงโค้งว่าเป็นช่องโค้งต่อเนื่องที่นำไปสู่การรองรับโครงหลังคาก็ได้ ช่องโค้งนั้นปรากฏอยู่ในสิ่งก่อสร้างนับตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาลในอารยธรรมลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย โดยสิ่งก่อสร้างนั้นเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิฐเป็นองค์ประกอบทางวัสดุอันหลัก การใช้ช่องโค้งอย่างเป็นระเบียบแบบแผนนั้นเริ่มต้นจากยุคโรมันโบราณที่นำช่องโค้งมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างที่มีรูปแบบหลากหลายประเภท ประวัติความเป็นมา ช่องโค้งนั้นปรากฏอยู่ในสิ่งก่อสร้างจากหลายอารยธรรมโบราณในแถบตะวันออกใกล้ในยุคโบราณและแถบเลแวนต์ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นช่องโค้งจะถูกใช้อย่างจำเพาะเจาะจงและอย่างบ่อยครั้งในโครงสร้างที่อยู่ในชั้นใต้ดินเท่านั้นอย่างเช่นท่อระบายน้ำที่ปัญหาเรื่องแรงผลักในทางแนวขวางลดลงไปอย่างมากจนแทบจะไม่ปรากฏโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างของกรณียกเว้นที่ไม่ค่อยปรากฏบ่อยครั้งนักอยู่ในยุคสำริดคือช่องโค้งในประตูเมืองของแอชเกลอน (หรืออิสราเอลในปัจจุบัน) ในช่วงระหว่างปี 1850 ก่อนคริสตกาล ตัวอย่างช่องโค้งแบบวูสซัวร์ที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในสะพานโค้งนครโรดส์ของกรีกโบราณ นอกจากนั้นช่องโค้งแบบอื่นๆ ยังถูกค้นพบในอารยธรรมทางฝั่งเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และทวีปอเมริกา ในปีคริสตศักราช 2010 หุ่นยนต์สำรวจได้ค้นพบช่องทางเดินที่มีหลังคาค้ำช่องโค้งขนาดยาวที่ซ่อนอยู่ภายใต้พีระมิดของเกวทซาโคลท์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโบราณแห่งเตโอติฮวากันทางตอนเหนือของเม็กซิโกซิตี้ โครงสร้างโบราณที่เพิ่งถูกค้นพบนี้คำนวณว่าสร้างขึ้นเมื่อสองร้อยปีหลังคริสตกาลโดยประมาณ ช่างชาวโรมันโบราณได้เรียนรู้เรื่องของช่องโค้งหรือ arch มาจากชาวอีทรัสกัน จากนั้นจึงขัดเกลาสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจนกลายเป็นชนชาติแรกที่สามารถใช้ช่องโค้งอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยชาวโรมันนั้นถือเป็นช่างก่อสร้างรายแรกสุดในทวีปยุโรปหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นช่างก่อสร้างรายแรกของโลกที่สามารถเข้าใจถึงประโยชน์และประสิทธิภาพของช่องโค้ง โครงสร้างทรงโค้ง และโดมได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ตลอดช่วงสมัยของอาณาจักรโรมันนั้น วิศวกรและช่างชาวโรมันได้ก่อสร้างโครงสร้างที่มีลักษณะทรงโค้งอย่างเช่นสะพาก ทางส่งน้ำ และประตูออกมามากมายและหลากหลายรูปแบบ นอกจากนั้นช่างชาวโรมันยังถือเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นและก่อสร้างสิ่งที่รู้จักกันในภายหลังว่าประตูชัยซึ่งก็มีโครงสร้างทรงโค้งหรือช่องโค้งเป็นส่วนประกอบอีกด้วย ข้อดีของช่องโค้งแบบทรงแหลมนั้นคือไม่ถ่ายน้ำหนักหรือสร้างแรงกดลงไปที่ตัวฐานรองรับเบื้องล่างมากนักเนื่องจากตัวช่องโค้งนั้นเป็นทรงแหลมสูง ข้อดีอันนี้ทำให้ช่างก่อสร้างสามารถสร้างโครงสร้างที่สูงกว่าเดิมและมีช่วงเปิดว่างที่เล็กลงตามสไตล์งานสถาปัตยกรรมแบบโกธิคนั่นเอง ส่วนช่องโค้งแบบพาราโบลานั้นใช้หลักการว่าเมื่อน้ำหนักถูกถ่ายลงอย่างเป็นรูปแบบเดียวกันสู่ช่องโค้ง ความบีบอัดภายในที่เกิดจากน้ำหนักนั้นจะเคลื่อนไปเป็นรูปทรงพาราโบลา ช่องโค้งแบบพาราโบลานั้นถ่ายน้ำหนักลงไปยังฐานมากที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองแบบก่อนหน้าแต่ข้อดีคือตัวช่องโค้งสามารถกินระยะความยาวได้เยอะกว่าแบบอื่น ส่วนใหญ่ใช้ในการออกบบก่อสร้างสะพานที่ระยะความยาวเป็นสิ่งสำคัญ รูปแบบและลักษณะของช่องโค้ง ช่องโค้งนั้นมีหลายรูปแบบแต่เราสามารถแบ่งช่องโค้งหรือ arch ได้เป็นสามแบบโดยพื้นฐานนั่นคือช่องโค้งแบบทรงกลม..
การจัดฮวงจุ้ยที่ดี สำหรับห้องครัว ห้องครัวถือเป็นห้องที่มีความสำคัญในแง่ของฮวงจุ้ยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์และการดำรงชีวิต การจัดฮวงจุ้ยที่ดีของห้องครัวจะช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์พูนสุขในชีวิตให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ห้องครัวยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวยในทางฮวงจุ้ยอีกด้วย ตามหลักการฮวงจุ้ยที่ดีแล้ว ห้องครัวไม่ควรอยู่ติดกับประตูทางเข้าหน้าบ้าน ซึ่งจะทำให้พลังแห่งโชคลาภที่ดีๆ ไหลออกอย่างรวดเร็ว อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นเหมือนการเพิ่มพลังงานดีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและบำรุงจากภายใน อาหารนั้นๆ จึงควรได้รับการปรุงในห้องครัวที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน และมีการไหลเวียนของพลังชี่เป็นอย่างดี เพราะการดำเนินชีวิตของเราก็คือการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนพลังงานต่างๆ รอบตัว หลักการฮวงจุ้ยที่ดีในห้องครัวจะช่วยให้ผู้ปรุงอาหารได้รับพลังชี่ที่ดี เมื่อปรุงอาหารออกมาก็จะเป็นอาหารที่มีความสมบูรณ์ในแง่พลัง ผู้ที่รับประทานเข้าไปจึงจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ สมาชิกในบ้านที่ต่างก็ได้รับประทานอาหารดีๆ ร่วมกันก็จะเกิดความสุขความสามัคคีขึ้น การรับสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกายก็เป็นหลักการฮวงจุ้ยหนึ่ง นอกจากการจัดวางห้องครัวที่ดีแล้ว การเลือกรับประทานอาหารที่ครบถ้วน เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะผักและผลไม้สดๆ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะนอกจากในแง่ของคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น แร่ธาตุและวิตามินแล้ว ผักและผลไม้สดๆ ยังเป็นแหล่งพลังแห่งการรักษาจากธาตุดินที่จำเป็นต่อร่างกายในทางฮวงจุ้ยเป็นอย่างมาก หลักการง่ายๆ สำหรับการจัดห้องครัวให้ถูกหลักฮวงจุ้ย ในห้องครัวควรมีไฟอย่างน้อย 2-3 ดวง ซึ่งมีแสงสว่างเพียงพอ มีการไหลเวียนของลม มีพื้นที่เพียงพอ มีความสะอาด และมีบรรยากาศของความอบอุ่น ต้อนรับผู้มาเยือนอยู่เสมอ สำหรับหลักการจัดวางตามฮวงจุ้ยที่ดี ห้องครัวควรมีลักษณะที่เรียบง่ายที่สุด ไม่ควรมีอุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ มากเกินไป ควรจัดเก็บอุปกรณ์สำหรับการตัดหั่น เช่น มีด และของมีคมอื่นๆ ไว้เป็นสัดส่วนและเป็นที่เป็นทาง ควรจัดแจกันดอกไม้สดวางประดับห้องครัว..
การตกแต่งตามหลักฮวงจุ้ย เป็นขั้นตอนพื้นฐานของการตกแต่งบ้านเพื่อให้เกิดพลังแห่งความสุขและความราบรื่นในชีวิต การจัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ยไม่ได้หมายถึงการจัดบ้านแบบเซ็น แต่การจัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ยคือการจัดสถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดรับกับการทำกิจกรรมหรือส่งเสริมให้สามารถทำกิจการนั้นๆ ไปได้ด้วยดี อาทิเช่น การตกแต่งโฮมออฟฟิศควรมีบรรยากาศที่กระตุ้นให้เกิดพลัง การขับเคลื่อน ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ในขณะที่ห้องนอนควรเป็นที่ๆ ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ซึ่งการแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ยสามารถเริ่มต้นได้ไม่ยากด้วยหลักการขั้นพื้นฐานง่ายๆ การจัดฮวงจุ้ยสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ช่วยส่งเสริมไปในทิศทางใด เช่น ความรัก การสนับสนุน ความสุข ความรื่นเริงของคนในครอบครัว การแต่งบ้านตามหลักการนี้จะแตกต่างเล็กน้อยกับการแต่งบ้านตามค่านิยมแบบเดิม แต่เชื่อได้ว่าหากได้ลองจัดบ้านตามหลักง่ายๆ ของฮวงจุ้ยแล้วจะช่วยให้การแต่งบ้านเป็นเรื่องสนุกสนานและลงตัวได้ไม่ยากแน่นอน ขั้นตอนแรกของการตกแต่งบ้านเริ่มตั้งแต่ก่อนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ โดยสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกก็คือการขับไล่พลังงานเก่าออกไปเพื่อให้พลังงานใหม่ไหลเข้ามาแทนที่ ด้วยการรื้อของเก่าที่รกรุงรังออกให้หมด ซึ่งตามหลักการฮวงจุ้ยแล้วถือว่าไม่เป็นมงคลและไม่ก่อให้เกิดความสวยงาม เหมือนการแต่งหน้าทับซ้ำๆ ลงไปบนใบหน้าที่ยังไม่ได้ล้างนั่นเอง หลังจากที่เคลียร์ของเก่าๆ ไม่ได้ใช้ออกไปแล้ว ก็สามารเริ่มต้น 5 ขั้นตอนง่ายๆ ได้ดังต่อไปนี้ 5 ขั้นตอนพื้นฐาน ของการตกแต่งบ้านตามหลักการฮวงจุ้ย STEP 1 บ้านต้องมีแสงสว่างเข้าถึงเพียงพอและมีการระบายอากาศที่ดี โดย 2 อย่างนี้เป็นต้นกำเนิดของพลังงานชี่ ซึ่งเป็นพลังงานดีในทางฮวงจุ้ยนั่นเอง STEP 2 จัดวางแผนผัง “ป้ากัว” (bagua) หรือแผนที่บ้าน ป้ากัวก็คล้ายกับพิมพ์เขียว ใช้ในการบอกว่าห้องไหนควรใช้สีอะไร หรือภาพไหนที่เหมาะกับบ้านของเรามากที่สุด..
อาคารเวนไรท์หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าอาคารสำนักงานรัฐเวนไรท์ เป็นอาคารสำนักงานก่อสร้างด้วยอิฐแดงความสูงสิบชั้น โดยตั้งอยู่ที่หมายเลข 709 บนถนนเชสค์นัทในย่านดาวน์ทาวน์ของเมืองเซนต์หลุยส์, มิสซิสซิปปี อาคารเวนไรท์นั้นถือเป็นตึกสูงระฟ้ารุ่นแรกๆ ของโลก โดยผู้ออกแบบคือดังค์มาร์ แอดเลอร์และหลุยส์ ซัลลิแวนได้ออกแบบตัวอาคารโดยวางอยู่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบปาลาสโซซึ่งใช้เวลาก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1890-1891 ชื่อของอาคารนั้นถูกตั้งตามชื่อของเอลลิส เวนไรท์ ผู้เป็นทั้งนักการเงิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ผลิตเครื่องดื่มขึ้นชื่อในท้องถิ่นที่เป็นผู้ว่าจ้างโครงการนี้ การออกแบบและโครงสร้าง อาคารหลังนี้ถูกระบุให้อยู่ในฐานะหลักเขตหมุดหมายของทั้งในระดับท้องที่และในระดับชาติ นอกจากนั้นยังได้รับการให้อรรถาธิบายกล่าวขวัญถึงเพิ่มเติมโดยสำนักงานทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติว่าเป็น “ต้นแบบอันทรงอิทธิพลของอาคารสำนักงานสมัยใหม่” แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์เรียกอาคารเวนไรท์ว่าเป็น “การแสดงออกเยี่ยงมนุษย์ครั้งแรกสุดที่ปรากฏผ่านอาคารสำนักงานเหล็กสูงระฟ้าในฐานะสถาปัตยกรรม” ปัจจุบันอาคารเวนไรท์หลังนี้เป็นทรัพย์สมบัติของรัฐมิสซูรี และในปี 2013 อาคารเวนไรท์ยังถูกจัดอันดับโดยรายการทาง PBS ให้เป็นหนึ่งในสิบอาคารที่เปลี่ยนโฉมหน้าอเมริกาเนื่องจากมันเป็นอาคารสูงระฟ้าที่มีคุณสมบัติสมชื่อเรียก โดยพร้อมกันนั้นซัลลิแวนก็ได้รับการขนานนามให้เป็นบิดาแห่งตึกสูงระฟ้า ต้นกำเนิดรูปแบบอาคาร ในทางประวัติศาสตร์ อาคารเวนไรท์นั้นเริ่มต้นจากการว่าจ้างของเอลลิส เวนไรท์ผู้ผลิตเครื่องดื่มจากเซนต์หลุยส์ โดยเวนไรท์นั้นต้องการพื้นที่ทางสำนักงานสำหรับการบริหารจัดการสมาคมผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งเซนต์หลุยส์ โดยอาคารหลังนี้เป็นโครงการก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่ที่สองที่บริษัทของแอดเลอร์และซัลลิแวนได้รับ โดยในเบื้องต้นนั้น ชั้นแรกของตัวอาคารเวนไรท์จะถูกใช้สำหรับเป็นร้านค้าที่เปิดให้ผู้คนเดินเท้าบนถนนสามารถเข้าแวะชมได้ ส่วนชั้นที่สองเป็นอาคารสำนักงานที่เข้าถึงได้ไม่ยากเย็นนัก ส่วนชั้นของอาคารที่สูงขึ้นไปนั้นถือเป็นสำนักงานแบบ “รังผึ้ง” ในขณะที่ชั้นบนสุดนั้นเป็นที่ตั้งของถังน้ำและกลไกเครื่องจักรต่างๆ ที่ทำงานอยู่ในตัวอาคาร