Pier | ตอม่อ หรือเสาค้ำ

Posted in : สถาปัตยกรรม on by : Webmaster Comments: 0

Pier
ตอม่อ หรือเสาค้ำมีความหมายในทางสถาปัตยกรรมคือหมายถึงส่วนรองรับน้ำหนักโดยตรงจากโครงสร้างหรือโครงสร้างส่วนบน อย่างเช่นซุ้มโค้งหรือตัวสะพาน ทั้งนี้ เรายังกล่าวได้ว่าส่วนของกำแพงในโครงสร้างที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางระหว่างส่วนเปิดหรือเวิ้งสองข้างก็ถือว่าสามารถทำหน้าที่ในฐานะเดียวกับตอม่อหรือเสาค้ำได้เช่นกันแม้จะไม่ได้มีรูปร่างแบบเดียวกัน
ลักษณะโดยทั่วไปของตอม่อ
โดยทั่วไปแล้ว ครอสเซคชันของตอม่อหรือเสาค้ำนั้นจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือในบางกรณีอาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ทั้งนี้ก็สามรถมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ ก็เป็นได้เช่นกันตามแต่ความเหมาะสมของโครงสร้างและแบบร่างที่วางไว้รวมไปถึงสภาพแวดล้อมและความผกผันหรือแรงกระทำใดๆ ที่ตัวสิ่งปลูกสร้างอาจจะต้องเผชิญ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมของยุคกลางในทวีปยุโรปนั้น ส่วนสำหรับค้ำยันเป็นวงรอบที่ถูกเรียกว่าตอม่อหรือเสาค้ำแบบกลอง รวมไปถึง ตอม่อหรือเสาค้ำรูปกางเขน และตอม่อหรือเสาค้ำประสานนั้นต่างก็ถือเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยพื้นฐานของการสร้างสิ่งปลูกสร้างในสมัยนั้น เสาในความหมายทั่วไปนั้นก็ถือเป็นส่วนค้ำยันแบบตั้งตรงเช่นเดียวกันกับตอม่อหรือเสาค้ำ หากแต่เสาจะอยู่ตรงฐานรอบไม่ได้ฝังตัวหรือรองรับแรงกดมากเท่ากับตอม่อหรือเสาค้ำ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีเฉพาะของโครงสร้างแต่ละแบบ ในสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นเวิ้งระหว่างเสาต่อเนื่อง ส่วนที่เป็นช่องเวิ้งนั้นที่อาจเป็นส่วนหน้าต่างหรือประตูนั้นถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งเวิ้ง
หลักการสร้างและการทำงานของตอม่อ
ในกรณีของสะพานตอนเดียวจะมีเครื่องรองรับน้ำหนักตรงส่วนปลายของแต่ละฝั่ง และเครื่องรองรับน้ำหนักที่ว่านี้ก็ต่างทำหน้าที่เป็นกำแพงค้ำยันและกั้นแรงดันแนวขวางของการเคลื่อนของผิวดินในแนวขวางของสะพานแต่ละด้านไปพร้อมๆ กันด้วย ส่วนในกรณีของสะพานหลายตอนนั้นก็จะต้องมีการสร้างตอม่อหรือเสาค้ำไว้ตรงจุดปลายของแต่ละตอนตรงช่องว่างระหว่างเครื่องรับน้ำหนักเหล่านั้น ในสถานที่ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นนั้น ฝั่งที่อยู่ด้านเหนือน้ำอาจจะต้องมีสันปันน้ำเพื่อป้องกันการสะสมของน้ำแข็งที่แตกระแหงโดยจะมีการทำให้ตัวสันปันน้ำนั้นมีด้านแหลมเพื่อกระจายชิ้นส่วนของตัวน้ำแข็งออก โดยทั่วไปแล้วในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น สันปันน้ำจะถูกติดตั้งให้ยกเอียงที่สี่สิบห้าองศาเพื่อกระจายแรงต้านที่เกิดจากการประทะระหว่างกระแสน้ำและตัวน้ำแข็งให้เปลี่ยนจากแนวนอนเป็นแนวขวางเพื่อให้นำแข็งแตกกระจายตัวออกก่อนจะลอยไปยังตอม่อหรือเสาค้ำของสะพานอีกฟากได้
ในประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสนั้น ซุ้มโค้งตรงส่วนกลางและซุ้มด้านข้างนั้นวางอยู่บนตอม่อหรือเสาค้ำขนาดใหญ่บนแผ่นดิน ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ ในแบบแปลนที่วาดโดยนาโต บราเมนเตเพื่อใช้สำหรับก่อสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรในโรมนั้นก็มีตอม่อหรือเสาค้ำที่ระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้อย่างรุ่มรวย หลังคาโค้งที่ตอม่อหรือเสาค้ำเหล่านี้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักนั้นวางตัวซ้อนกันสองชั้น ซึ่งถือเป็นแนวทางการนำเสนอแบบร่างทางสถาปัตยกรรมโดยทั่วไป ตอม่อหรือเสาค้ำจำนวนสี่เสาทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของโครงสร้างของตัวโดมที่วางพาดอยู่ตรงกลาง ตอม่อหรือเสาค้ำเหล่านี้ดูมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะรองรับหรือค้ำยันน้ำหนักจากโครงสร้างส่วนบนไหวและได้รับการเปลี่ยนแปลงในภายหลังโดยมิเกลันเจโลเพื่อให้พวกมันสามารถรองรับน้ำหนักอันมหาศาลของตัวโครงสร้างของโดมได้
ตอม่อหรือเสาค้ำของมุขโค้งด้านสกัดหรือ apses ที่ปรากฏอยู่บนด้านหน้าของกำแพงแต่ละด้านนั้นก็มีความแข็งแรงทนทานอย่างยิ่งเช่นกัน เพื่อที่จะสามารถรองรับแรงกดดันภายนอกจากโครงสร้างของตัวโดมครึ่งหนึ่งที่กระทำลงบนตัวของมัน