ซุ้มโค้ง คานโค้ง (Arch) ช่องโค้งหรือวงโค้งหรือ arch ในภาษาอังกฤษหมายถึงส่วนของโค้งสร้างที่กางออกเหนือพื้นที่ว่างหรือช่องว่าง ซึ่งตัวช่องโค้งนั้นอาจจะรองรับแรงกดจากโครงสร้างที่อยู่ข้างบนตัวมันเองหรือไม่ก็ได้ ช่องโค้งหรือ arch ในภาษาอังกฤษอาจมีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับโครงสร้างทรงโค้งหรือ vault ในภาษาอังกฤษเพียงแต่เราอาจจะแยกแยะโครงสร้างสองประเภทออกจากกันด้วยการเรียกโครงสร้างทรงโค้งว่าเป็นช่องโค้งต่อเนื่องที่นำไปสู่การรองรับโครงหลังคาก็ได้ ช่องโค้งนั้นปรากฏอยู่ในสิ่งก่อสร้างนับตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาลในอารยธรรมลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย โดยสิ่งก่อสร้างนั้นเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิฐเป็นองค์ประกอบทางวัสดุอันหลัก การใช้ช่องโค้งอย่างเป็นระเบียบแบบแผนนั้นเริ่มต้นจากยุคโรมันโบราณที่นำช่องโค้งมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างที่มีรูปแบบหลากหลายประเภท ประวัติความเป็นมา ช่องโค้งนั้นปรากฏอยู่ในสิ่งก่อสร้างจากหลายอารยธรรมโบราณในแถบตะวันออกใกล้ในยุคโบราณและแถบเลแวนต์ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นช่องโค้งจะถูกใช้อย่างจำเพาะเจาะจงและอย่างบ่อยครั้งในโครงสร้างที่อยู่ในชั้นใต้ดินเท่านั้นอย่างเช่นท่อระบายน้ำที่ปัญหาเรื่องแรงผลักในทางแนวขวางลดลงไปอย่างมากจนแทบจะไม่ปรากฏโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างของกรณียกเว้นที่ไม่ค่อยปรากฏบ่อยครั้งนักอยู่ในยุคสำริดคือช่องโค้งในประตูเมืองของแอชเกลอน (หรืออิสราเอลในปัจจุบัน) ในช่วงระหว่างปี 1850 ก่อนคริสตกาล ตัวอย่างช่องโค้งแบบวูสซัวร์ที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในสะพานโค้งนครโรดส์ของกรีกโบราณ นอกจากนั้นช่องโค้งแบบอื่นๆ ยังถูกค้นพบในอารยธรรมทางฝั่งเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และทวีปอเมริกา ในปีคริสตศักราช 2010 หุ่นยนต์สำรวจได้ค้นพบช่องทางเดินที่มีหลังคาค้ำช่องโค้งขนาดยาวที่ซ่อนอยู่ภายใต้พีระมิดของเกวทซาโคลท์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโบราณแห่งเตโอติฮวากันทางตอนเหนือของเม็กซิโกซิตี้ โครงสร้างโบราณที่เพิ่งถูกค้นพบนี้คำนวณว่าสร้างขึ้นเมื่อสองร้อยปีหลังคริสตกาลโดยประมาณ ช่างชาวโรมันโบราณได้เรียนรู้เรื่องของช่องโค้งหรือ arch มาจากชาวอีทรัสกัน จากนั้นจึงขัดเกลาสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจนกลายเป็นชนชาติแรกที่สามารถใช้ช่องโค้งอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยชาวโรมันนั้นถือเป็นช่างก่อสร้างรายแรกสุดในทวีปยุโรปหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นช่างก่อสร้างรายแรกของโลกที่สามารถเข้าใจถึงประโยชน์และประสิทธิภาพของช่องโค้ง โครงสร้างทรงโค้ง และโดมได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ตลอดช่วงสมัยของอาณาจักรโรมันนั้น วิศวกรและช่างชาวโรมันได้ก่อสร้างโครงสร้างที่มีลักษณะทรงโค้งอย่างเช่นสะพาก ทางส่งน้ำ และประตูออกมามากมายและหลากหลายรูปแบบ นอกจากนั้นช่างชาวโรมันยังถือเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นและก่อสร้างสิ่งที่รู้จักกันในภายหลังว่าประตูชัยซึ่งก็มีโครงสร้างทรงโค้งหรือช่องโค้งเป็นส่วนประกอบอีกด้วย ข้อดีของช่องโค้งแบบทรงแหลมนั้นคือไม่ถ่ายน้ำหนักหรือสร้างแรงกดลงไปที่ตัวฐานรองรับเบื้องล่างมากนักเนื่องจากตัวช่องโค้งนั้นเป็นทรงแหลมสูง ข้อดีอันนี้ทำให้ช่างก่อสร้างสามารถสร้างโครงสร้างที่สูงกว่าเดิมและมีช่วงเปิดว่างที่เล็กลงตามสไตล์งานสถาปัตยกรรมแบบโกธิคนั่นเอง ส่วนช่องโค้งแบบพาราโบลานั้นใช้หลักการว่าเมื่อน้ำหนักถูกถ่ายลงอย่างเป็นรูปแบบเดียวกันสู่ช่องโค้ง ความบีบอัดภายในที่เกิดจากน้ำหนักนั้นจะเคลื่อนไปเป็นรูปทรงพาราโบลา ช่องโค้งแบบพาราโบลานั้นถ่ายน้ำหนักลงไปยังฐานมากที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองแบบก่อนหน้าแต่ข้อดีคือตัวช่องโค้งสามารถกินระยะความยาวได้เยอะกว่าแบบอื่น ส่วนใหญ่ใช้ในการออกบบก่อสร้างสะพานที่ระยะความยาวเป็นสิ่งสำคัญ รูปแบบและลักษณะของช่องโค้ง ช่องโค้งนั้นมีหลายรูปแบบแต่เราสามารถแบ่งช่องโค้งหรือ arch ได้เป็นสามแบบโดยพื้นฐานนั่นคือช่องโค้งแบบทรงกลม..
อาคารเวนไรท์หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าอาคารสำนักงานรัฐเวนไรท์ เป็นอาคารสำนักงานก่อสร้างด้วยอิฐแดงความสูงสิบชั้น โดยตั้งอยู่ที่หมายเลข 709 บนถนนเชสค์นัทในย่านดาวน์ทาวน์ของเมืองเซนต์หลุยส์, มิสซิสซิปปี อาคารเวนไรท์นั้นถือเป็นตึกสูงระฟ้ารุ่นแรกๆ ของโลก โดยผู้ออกแบบคือดังค์มาร์ แอดเลอร์และหลุยส์ ซัลลิแวนได้ออกแบบตัวอาคารโดยวางอยู่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบปาลาสโซซึ่งใช้เวลาก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1890-1891 ชื่อของอาคารนั้นถูกตั้งตามชื่อของเอลลิส เวนไรท์ ผู้เป็นทั้งนักการเงิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ผลิตเครื่องดื่มขึ้นชื่อในท้องถิ่นที่เป็นผู้ว่าจ้างโครงการนี้ การออกแบบและโครงสร้าง อาคารหลังนี้ถูกระบุให้อยู่ในฐานะหลักเขตหมุดหมายของทั้งในระดับท้องที่และในระดับชาติ นอกจากนั้นยังได้รับการให้อรรถาธิบายกล่าวขวัญถึงเพิ่มเติมโดยสำนักงานทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติว่าเป็น “ต้นแบบอันทรงอิทธิพลของอาคารสำนักงานสมัยใหม่” แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์เรียกอาคารเวนไรท์ว่าเป็น “การแสดงออกเยี่ยงมนุษย์ครั้งแรกสุดที่ปรากฏผ่านอาคารสำนักงานเหล็กสูงระฟ้าในฐานะสถาปัตยกรรม” ปัจจุบันอาคารเวนไรท์หลังนี้เป็นทรัพย์สมบัติของรัฐมิสซูรี และในปี 2013 อาคารเวนไรท์ยังถูกจัดอันดับโดยรายการทาง PBS ให้เป็นหนึ่งในสิบอาคารที่เปลี่ยนโฉมหน้าอเมริกาเนื่องจากมันเป็นอาคารสูงระฟ้าที่มีคุณสมบัติสมชื่อเรียก โดยพร้อมกันนั้นซัลลิแวนก็ได้รับการขนานนามให้เป็นบิดาแห่งตึกสูงระฟ้า ต้นกำเนิดรูปแบบอาคาร ในทางประวัติศาสตร์ อาคารเวนไรท์นั้นเริ่มต้นจากการว่าจ้างของเอลลิส เวนไรท์ผู้ผลิตเครื่องดื่มจากเซนต์หลุยส์ โดยเวนไรท์นั้นต้องการพื้นที่ทางสำนักงานสำหรับการบริหารจัดการสมาคมผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งเซนต์หลุยส์ โดยอาคารหลังนี้เป็นโครงการก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่ที่สองที่บริษัทของแอดเลอร์และซัลลิแวนได้รับ โดยในเบื้องต้นนั้น ชั้นแรกของตัวอาคารเวนไรท์จะถูกใช้สำหรับเป็นร้านค้าที่เปิดให้ผู้คนเดินเท้าบนถนนสามารถเข้าแวะชมได้ ส่วนชั้นที่สองเป็นอาคารสำนักงานที่เข้าถึงได้ไม่ยากเย็นนัก ส่วนชั้นของอาคารที่สูงขึ้นไปนั้นถือเป็นสำนักงานแบบ “รังผึ้ง” ในขณะที่ชั้นบนสุดนั้นเป็นที่ตั้งของถังน้ำและกลไกเครื่องจักรต่างๆ ที่ทำงานอยู่ในตัวอาคาร
Roman Aqueduct ในยุคสมัยจักรวรรดิโรมันที่อุดมไปด้วยสิ่งสนองความต้องการและอ่างอาบน้ำสาธารณะ ชาวโรมันได้ก่อสร้างทางส่งน้ำของโรมันไว้จำนวนมหาศาลเพื่อที่จะได้สามารถนำเอาน้ำจากแหล่งที่มาที่อยู่ห่างไกลออกมาเข้ามาสู่นครและเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ได้ และนำมาใช้สำรองสำหรับอ่างอาบน้ำสาธารณะ สุขา น้ำพุ และเพื่อใช้สอยส่วนตัวในครัวเรือน ในส่วนของน้ำเสียนั้นก็จะถูกถ่ายเทออกไปด้วยระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ซับซ้อนและปล่อยทิ้งในสถานที่ที่มีน้ำที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง เพื่อรักษาให้ตัวเมืองยังคงความสะอาดและสุขลักษณะอนามัยปลอดเชื้อโรคระบาดเอาไว้ ทางส่งน้ำของโรมันนั้นยังถูกใช้เพื่อแจกจ่ายน้ำให้กับการขุดเจาะ การโม่หิน การทำไร่และการทำสวนอีกด้วย กลไกการทำงานของทางส่งน้ำ ทางส่งน้ำของโรมันเหล่านี้นั้นเคลื่อนน้ำไปด้วยแรงของแรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว โดยส่วนลำตัวของมันนั้นถูกสร้างขึ้นโดยให้ทำมุมเอียงเล็กน้อยภายในท่อน้ำที่สร้างขึ้นจากหิน อิฐ หรือปูนคอนกรีต ส่วนใหญ่แล้วทางส่งน้ำของโรมันจะถูกฝังอยู่ในชั้นใต้ดินซึ่งดำเนินต่อไปตามรูปทรงของทางส่งน้ำแต่ละส่วน โดยส่วนของทางส่งน้ำของโรมันที่ล้นเกินออกมาจะถูกทำคอกล้อมหรือขุดเป็นถ้าลอดผ่าน (ซึ่งไม่พบว่าทำเช่นนี้กันบ่อยนัก) ในส่วนที่หุบเขาหรือที่ลุ่มเข้ามากั้นขวางทางเดินของทางส่งน้ำนั้นก็จะมีการสร้างสะพานให้ทางส่งน้ำหรือไม่ก็เพิ่มแรงดันน้ำด้วยการใช้วัสดุก่อสร้างทางส่งน้ำที่มีคุณสมบัติต้านแรงน้ำน้อยกว่าที่ใช้ปกติอย่างท่อเซรามิกหรือท่อหิน ทางส่งน้ำของโรมันโดยส่วนใหญ่จะมีถังกักเก็บติดตั้งในแต่ละตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่จัดการหรือสำรองยามเมื่อมีความต้องการหรือเกิดเหตุจำเป็นเร่งด่วน ประวัติความเป็นมาและต้นกำเนิด ทางส่งน้ำที่ถูกใช้ครั้งแรกสุดในจักรวรรดิโรมันนั้นถูกใช้เพื่อสำรองน้ำให้กับน้ำพุที่ถูกติดตั้งไว้ในย่านการค้าหรือตลาดวัวของนคร ในคริสต์ศตวรรษที่สาม ตัวนครนั้นก็มีทางส่งน้ำนับได้จำนวนสิบสามแห่งที่ทำหน้าที่ส่งน้ำและรองรับชีวิตของผู้คนในตัวนครจำนวนนับล้านคนและมีส่วนในความเจริญทางเศรษฐกิจน้ำอีกด้วย โดยน้ำที่ทางส่งน้ำได้ส่งเข้าสู่เมืองโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นน้ำที่ถูกส่งไปยังอ่างอาบน้ำสาธารณะของโรมันนั่นเอง นครเมืองต่างๆ และหน่วยเทศบาลเมืองต่างๆ ทั่วทั้งอาณาจักรโรมันต่างก็ลอกเลียนเอาวิธีส่งจ่ายน้ำดังกล่าวนี้ไปใช้ในเมืองของตนเอง โดยต่างมอบเงินสนับสนุนให้กับทางส่งน้ำในฐานะสิ่งที่นำไปสู่ผลประโยชน์ของสาธารณชนโดยรวมและเป็นสิ่งที่แสดงถึงความภาคภูมิในฐานะความเป็นคนเมือง (หรือ civic) ที่ต่างจากคนที่อาศัยอยู่ในป่าเขาหรือร่อนเร่พเนจร ทางส่งน้ำของโรมันโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นทางส่งน้ำที่ใช้งานได้จริงและมีความคงทน ทางส่งน้ำของโรมันบางแห่งยังคงถูกบำรุงรักษาและดำรงอยู่มาจนถึงยุคสมัยใหม่ โดยที่ทางส่งน้ำของโรมันบางส่วนยังถูกใช้งานเหมือนเช่นในอดีตเช่นกัน วิธีการและแนวคิดในการคิดค้น, ทดลอง และก่อสร้างทางส่งน้ำของโรมันนั้นถูกบันทึกไว้โดยวิตรูเวียสผู้เป็นทั้งนักเขียนและสถาปนิกชาวโรมันในหนังสือชื่อ เดอ อาร์คิเทคทูรา หรือ ว่าด้วยสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายพลอย่างฟรอนตินุสก็ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับทางส่งน้ำของโรมัน ไว้มากกว่าวิตรูเวียสในรายงานส่งทางการของเขาที่ว่าด้วยปัญหาขัดข้อง การใช้งานและการใช้อย่างมิชอบต่อการขนส่งน้ำสาธารณะในอาณาจักรโรมัน ระบบและทางส่งน้ำของโรมันที่โดดเด่นนั้นได้แก่ทางส่งน้ำของเซโกเวียและทางส่งน้ำของคอนสแตนติโนเปิล
Pier ตอม่อ หรือเสาค้ำมีความหมายในทางสถาปัตยกรรมคือหมายถึงส่วนรองรับน้ำหนักโดยตรงจากโครงสร้างหรือโครงสร้างส่วนบน อย่างเช่นซุ้มโค้งหรือตัวสะพาน ทั้งนี้ เรายังกล่าวได้ว่าส่วนของกำแพงในโครงสร้างที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางระหว่างส่วนเปิดหรือเวิ้งสองข้างก็ถือว่าสามารถทำหน้าที่ในฐานะเดียวกับตอม่อหรือเสาค้ำได้เช่นกันแม้จะไม่ได้มีรูปร่างแบบเดียวกัน ลักษณะโดยทั่วไปของตอม่อ โดยทั่วไปแล้ว ครอสเซคชันของตอม่อหรือเสาค้ำนั้นจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือในบางกรณีอาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ทั้งนี้ก็สามรถมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ ก็เป็นได้เช่นกันตามแต่ความเหมาะสมของโครงสร้างและแบบร่างที่วางไว้รวมไปถึงสภาพแวดล้อมและความผกผันหรือแรงกระทำใดๆ ที่ตัวสิ่งปลูกสร้างอาจจะต้องเผชิญ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมของยุคกลางในทวีปยุโรปนั้น ส่วนสำหรับค้ำยันเป็นวงรอบที่ถูกเรียกว่าตอม่อหรือเสาค้ำแบบกลอง รวมไปถึง ตอม่อหรือเสาค้ำรูปกางเขน และตอม่อหรือเสาค้ำประสานนั้นต่างก็ถือเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยพื้นฐานของการสร้างสิ่งปลูกสร้างในสมัยนั้น เสาในความหมายทั่วไปนั้นก็ถือเป็นส่วนค้ำยันแบบตั้งตรงเช่นเดียวกันกับตอม่อหรือเสาค้ำ หากแต่เสาจะอยู่ตรงฐานรอบไม่ได้ฝังตัวหรือรองรับแรงกดมากเท่ากับตอม่อหรือเสาค้ำ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีเฉพาะของโครงสร้างแต่ละแบบ ในสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นเวิ้งระหว่างเสาต่อเนื่อง ส่วนที่เป็นช่องเวิ้งนั้นที่อาจเป็นส่วนหน้าต่างหรือประตูนั้นถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งเวิ้ง หลักการสร้างและการทำงานของตอม่อ ในกรณีของสะพานตอนเดียวจะมีเครื่องรองรับน้ำหนักตรงส่วนปลายของแต่ละฝั่ง และเครื่องรองรับน้ำหนักที่ว่านี้ก็ต่างทำหน้าที่เป็นกำแพงค้ำยันและกั้นแรงดันแนวขวางของการเคลื่อนของผิวดินในแนวขวางของสะพานแต่ละด้านไปพร้อมๆ กันด้วย ส่วนในกรณีของสะพานหลายตอนนั้นก็จะต้องมีการสร้างตอม่อหรือเสาค้ำไว้ตรงจุดปลายของแต่ละตอนตรงช่องว่างระหว่างเครื่องรับน้ำหนักเหล่านั้น ในสถานที่ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นนั้น ฝั่งที่อยู่ด้านเหนือน้ำอาจจะต้องมีสันปันน้ำเพื่อป้องกันการสะสมของน้ำแข็งที่แตกระแหงโดยจะมีการทำให้ตัวสันปันน้ำนั้นมีด้านแหลมเพื่อกระจายชิ้นส่วนของตัวน้ำแข็งออก โดยทั่วไปแล้วในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น สันปันน้ำจะถูกติดตั้งให้ยกเอียงที่สี่สิบห้าองศาเพื่อกระจายแรงต้านที่เกิดจากการประทะระหว่างกระแสน้ำและตัวน้ำแข็งให้เปลี่ยนจากแนวนอนเป็นแนวขวางเพื่อให้นำแข็งแตกกระจายตัวออกก่อนจะลอยไปยังตอม่อหรือเสาค้ำของสะพานอีกฟากได้ ในประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสนั้น ซุ้มโค้งตรงส่วนกลางและซุ้มด้านข้างนั้นวางอยู่บนตอม่อหรือเสาค้ำขนาดใหญ่บนแผ่นดิน ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ ในแบบแปลนที่วาดโดยนาโต บราเมนเตเพื่อใช้สำหรับก่อสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรในโรมนั้นก็มีตอม่อหรือเสาค้ำที่ระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้อย่างรุ่มรวย หลังคาโค้งที่ตอม่อหรือเสาค้ำเหล่านี้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักนั้นวางตัวซ้อนกันสองชั้น ซึ่งถือเป็นแนวทางการนำเสนอแบบร่างทางสถาปัตยกรรมโดยทั่วไป ตอม่อหรือเสาค้ำจำนวนสี่เสาทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของโครงสร้างของตัวโดมที่วางพาดอยู่ตรงกลาง ตอม่อหรือเสาค้ำเหล่านี้ดูมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะรองรับหรือค้ำยันน้ำหนักจากโครงสร้างส่วนบนไหวและได้รับการเปลี่ยนแปลงในภายหลังโดยมิเกลันเจโลเพื่อให้พวกมันสามารถรองรับน้ำหนักอันมหาศาลของตัวโครงสร้างของโดมได้ ตอม่อหรือเสาค้ำของมุขโค้งด้านสกัดหรือ apses ที่ปรากฏอยู่บนด้านหน้าของกำแพงแต่ละด้านนั้นก็มีความแข็งแรงทนทานอย่างยิ่งเช่นกัน เพื่อที่จะสามารถรองรับแรงกดดันภายนอกจากโครงสร้างของตัวโดมครึ่งหนึ่งที่กระทำลงบนตัวของมัน
สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นคือสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นโดยชาวกรีกโบราณหรือชาวเฮเลนนิคที่อยู่ในวัฒนธรรมซึ่งเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของกรีกและเพโลพอเนซุส รวมไปถึงเกาะแอเกียนและอาณานิคมน้อยใหญ่ในเอเชียไมเนอร์และอิตาลี นับตั้งแต่ช่วงเวลาเก้าร้อยปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริศตศตวรรษที่หนึ่ง โดยสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่นั้นตรวจสอบพบว่าถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณหกร้อยปีก่อนคริสตกาล ประวัติความเป็นมา สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีความโดดเด่นในเรืองอาคารที่ใช้เป็นอาราม ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไปในดินแดนแถบนั้น แม้ว่าจะเหลือเป็นซากปรักพังโดยส่วนใหญ่แต่ก็ยังคงรูปและโครงสร้างไว้ได้อย่างแข็งขัน สิ่งปลูกสร้างอีกประเภทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่ยังคงหลงเหลือมาจากโลกเฮเลนนิคมาสู่ยุคสมัยปัจจุบันนั้นคือโรงมหรสพกลางแจ้งที่ตรวจสอบพบว่าโรงที่เก่าแก่ที่สุดนั้นถูกสร้างไว้ตั้งแต่ราวสามร้อยห้าสิบปีก่อนคริสตกาลโดยประมาณ สถาปัตยกรรมอีกประเภทที่ยังถูกค้นพบหลักฐานก็คือช่องทางเดินสำหรับพิธีการหรือ Propylon จัตุรัสกลางเมืองหรือ Agora ที่ล้อมรอบด้วยทางเดินล้อมเสาเป็นชั้นหรือ Stoa นอกจากนั้นยังมีอาคารว่าการของเมืองหรือ Bouleuterion อนุสรณ์สาธารณะและหลุมศพหรือ mausoleum และสนามกีฬาหรือ stadium ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกรีกโบราณ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นมีความโดดเด่นต่างจากสถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ ด้วยลักษณะที่เป็นแบบแผนทางการอย่างยิ่งยวด ทั้งในแง่ของโครงสร้างและการตกแต่งประดับประดา คุณสมบัติดังกล่าวนี้จะปรากฏชัดอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาในกรณีของอารามต่างๆ ที่ในขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างนั้นจะถือว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างแต่ละหลังนั้นถือเป็นงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งที่ถูกจัดวางท่ามกลางภูมิทัศน์เบื้องหลัง โดยสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายนั้นมักถูกยกให้สูงขึ้นจากพื้นด้วยการสร้างฐานรองสูง เพื่อให้ตัวอาคารเหล่านั้นสามารถสำแดงสัดส่วนอันสง่างามออกมาและเพื่อให้ผลตกกระทบของแสงที่มีต่อตัวอาคารนั้นสามารถถูกมองเห็นจากทุกมุมรอบด้าน นิโคเลาส์ เปฟสเนอร์ได้กล่าวไว้ว่า “รูปร่างที่ยืดหยุ่นของอารามกรีกนั้นถูกจัดเรียงไว้เบื้องหน้าเราที่เป็นผู้ชมพร้อมกับภาพปรากฏทางกายภาพที่มีความเข้มข้นและมีชีวิชีวายิ่งกว่าสิ่งปลูกสร้างชิ้นอื่นใดๆ” ประเภทของสถาปัตยกรรมในอารยธรรมกรีกโบราณ คำศัพท์ที่ใช้ในสถาปัตยกรรมกรีกโบราณโดยเพาะที่ใช้เรียกสไตล์การออกแบบนั้นแบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือสถาปัตยกรรมแบบโดริก แบบไอโอนิค และแบบโครินเธียน การแบ่งประเภของสถาปัตยกรรมนี้มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง สถาปัตยกรรมกรีกโบราณนั้นพัฒนาขึ้นบนกรีกภาคพื้นแผ่นดินใหญ่และยังคงเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพลในประเทศอิตาลีนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการหรือ Renaissance เป็นต้นมา การย้อนกลับไปหาหรือการฟื้นคืนศิลปะและแนวคิดแบบคลาสสิคได้ส่งผลให้ไม่เพียงแค่การสืบทอดรูปแบบของสถาปัตยกรรมกรีกโบราณอย่างเที่ยงตรงและประณีตทุกรายละเอียดเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบทอดสายความคิดและมโนทัศน์ว่าด้วยความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่วางอยู่บนความสมดุลและการจัดวางสมส่วนต่อมาอีกด้วย สไตล์ทางสถาปัตยกรรมในรุ่นต่อมาอย่างสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิคและสถาปัตยกรรมกรีกฟื้นฟูนั้นดำเนินรอยตามและปรับประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมกรีกโบราณแทบจะทุกแง่มุม ดังที่กล่าวไว้ว่าสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่โดดเด่นที่สุดคืออารามจึงควรกล่าวถึงศาสนาความเชื่อในกรีกยุคโบราณว่ามีผลอย่างไรต่อการก่อสร้าง ศาสนาในยุคกรีกโบราณนั้นจัดอยู่ในหมวดของความเชื่อที่เคารพบูชาธรรมชาติซึ่งเป็นศาสนาที่เติบโตออกมาจากวัฒนธรรมในยุคก่อนหน้าอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ คือ ศาสนาของกรีกโบราณนั้นไม่ถือว่ามนุษย์จะถูกคุกคามหรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติโดยสิ้นเชิง แต่มนุษย์ถูกถือว่าเป็นสิ่งที่พิเศษล้ำกว่าอื่นใด คือเป็นสิ่งที่มีทั้งระเบียบและความกระหายอยากทั้งต่อสติปัญญาและความงดงาม ดังจะเห็นได้จากการที่พลังธรรมชาติต่างๆ นั้นจะถูกทำให้กลายร่างเป็นมนุษย์ในความเชื่อของกรีก..
คิ้วบัว แบ่งแยกคำ คิ้ว กับ บัว มาผสมกัน เป็นคำจำกัดความเฉพาะในวงการ ออกแบบ สถาปัตยกรรม และ งานก่อสร้าง ที่มีมานานแล้ว มาศึกษา ความหมาย และที่มา งานคิ้วบัว
ลูกกรง ( Balusters ) หรือ ลูกกรงปูน ( Concrete Balusters )
Moldings Moldings คิ้ว (สถาปัตยกรรม)